เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 38/2 (2560) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์บาดแผล
เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 ก.ค.- ธ.ค. 2560
JOURNAL OF ASIAN REVIEW Vol.38 No.2 July-December 2017
บทบรรณาธิการ
ด้วยความที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายมาช้านาน ทั้งระบอบการเมืองการปกครอง ศาสนา และกลุ่มชาติพันธุ์ ในแง่หนึ่งความแตกต่างหลากหลายก็ทำ ให้สังคมต้องหาทางปรับตัวเข้าหากันเพื่อการอยู่ร่วมกัน แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งความแตกต่างหลากหลายก็อาจเป็นเงื่อนไขนำ ไปสู่การปะทะเผชิญหน้าและความขัดแย้งชนิดที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ดังเช่นที่เกิดขึ้นหลายครั้งและหลายแห่ง ทั้ง
ที่เป็นความขัดแย้งในระดับภายในรัฐและระดับระหว่างรัฐ แต่ในระยะหลัง การที่กลุ่มประเทศในภูมิภาครวมตัวกันจัดตั้งอาเซียนและยึดถือกติการ่วมกันที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก ตลอดจนการใช้แนวทางการทูตแบบ “การใช้มติเห็นชอบร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์” ทำให้ความเสี่ยงของการเผชิญหน้าในระดับระหว่างรัฐลดน้อยลงไป ถึงอย่างนั้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังเป็นสนามของความขัดแย้งรุนแรง
ในระดับภายในรัฐอยู่ โดยมีกลุ่มที่เห็นต่างออกมาท้าทายอำนาจรัฐเพื่อยกระดับการต่อสู้ไปสู่การปกครองตนเองหรือแม้แต่การแบ่งแยกดินแดนอยู่อย่างต่อเนื่องความต่างทางอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์บาดแผล ถือเป็นเครื่องมือในการปะทะต่อรองระหว่างคู่ขัดแย้ง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีศึกษาที่สำ คัญ งานของรอมฏอน ปันจอร์ ได้ศึกษาการใช้ถ้อยคำ ที่แตกต่างกันใน
ตัวบทของงานวิชาการทางประวัติศาสตร์ชายแดนใต้เพื่ออธิบายประเด็นใจกลางของความขดั แยง้ ทางชาติพนั ธกุ์ ารเมืองที่ดำ รงอยใู่ นพืน้ ที่ปลายดา้ มขวานของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานได้เป็นอย่างดี นอกจากงานศึกษาความต่างด้านอัตลักษณ์
และชาติพันธุ์ผ่านเลนส์ประวัติศาสตร์ดังกล่าว เอเชียปริทัศน์เล่มนี้ยังมีอีกบทความที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ของ ซารีฮาน สุหลง ซึ่งอธิบายการแปลงเปลี่ยนของบทบาทผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในพื้นที่จากที่เคยเป็นกลุ่มคนผู้สูญเสียสู่บทบาทการเป็นนักกิจกรรมสังคม โดยคนกลุ่มนี้ถือเป็นพลังสำ คัญอีกภาคส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ6 เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2560 ความขัดแย้งบนเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์เป็นอีกปัญหาหนึ่ง
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าจับตามองและควรค่าต่อการติดตามความเคลื่อนไหวโดยเฉพาะในปัจจุบันที่กระบวนการสันติภาพได้คืบหน้าไปไกลถึงขั้นมีการผ่านมติเป็นข้อกฎหมายในรัฐสภาให้พื้นที่มินดาเนาเป็นเขตปกครองตนเอง ด้วยเหตุนี้ บทความของ ฟารีดา ปันจอร์ จึงมีความสำ คัญยิ่ง มิใช่เพียงแค่ในแง่ของการทำ ความเข้าใจต่อพลวัตและการเปลี่ยนแปลงของปัญหาความไม่สงบ แต่ยังมีความสำ คัญในแง่ของการ
ถอดบทเรียนความสำเร็จ โดยเฉพาะบทบาทของภาคประชาสังคมในพื้นที่ความขัดแย้งที่มีส่วนสำ คัญยิ่งต่อการประคับประคองและผลักดันกระบวนเจรจาสันติภาพให้เดินหน้าและบรรลุผลสำเร็จในท้ายที่สุดบทความที่น่าสนใจยิ่งอีกชิ้นเป็นงานศึกษาของ ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร เรื่อง
การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยมบนพื้นฐานชาติพันธุ์ต่อต้านยาเสพติดของกองทัพแห่งรัฐฉาน แก่นกลางของการนำ เสนองานวิชาการเรื่องนี้คือรูปแบบเฉพาะของการจัดการปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นบริเวณแนวชายแดนไทยพม่าผ่านการสร้างอุดมการณ์ชาติพันธุ์-ชาตินิยม บทความนี้นอกจากจะเป็นงานที่เปิดมุมมองใหม่ต่อแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังน่าจะ
เป็นประโยชน์เชิงนโยบายต่อประเทศไทยในการกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดบนพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-พม่าผ่านการสร้างเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์สุดท้ายแต่มิได้หมายความว่ามีความสำคัญท้ายสุดคืองานของ สุชาติ เศรษฐมาลินี เรื่องความรุนแรงไร้พรมแดนของผู้ลี้ภัยข้ามชาติ โดยได้ศึกษากรณีชาวอุยกูร์จากซินเจียงที่เข้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยข้อค้นพบของสุชาติน่าสนใจยิ่ง เพราะนอกจากจะอธิบายตัวตนของชาวอุยกูร์ที่ไม่ค่อยมีงานศึกษาที่เป็นวิชาการออกมามากนักในสังคมไทยแล้ว ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของจีนที่มีต่อชาวอุยกูร์ อันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้มข้นของปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะหลัง แต่ที่สำคัญคือการที่งานศึกษาได้อธิบายถึงผลกระทบของปัญหาอุยกูร์ต่อไทยในรูปปัญหาความรุนแรงไร้พรมแดนของผู้ลี้ภัยข้ามเอเชียปริทัศน์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2560 7 ชาติที่รัฐบาลไทยจำต้องหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
เอเชียปริทัศน์ฉบับนี้มุ่งให้ความสนใจความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่ได้คัดเลือกมานำ เสนอนี้มีความแตกต่างหลากหลายอันเกิดจากพื้นฐานความสนใจของนักวิชาการแต่ละคน แม้กระนั้น งานที่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างพิถีพิถันเหล่านี้ก็ล้วนสะท้อนมุมมองและแนวคิดที่นอกจากจะมีความลุ่มลึกแล้ว ยังเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไทยอีก
ด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารฉบับนี้จะยังประโยชน์ต่องานวิชาการ ต่อการพัฒนานโยบายของรัฐ และต่อการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีความต่างในสังคมไทย
ศราวุฒิ อารีย์
บรรณาธิการประจำ ฉบับ
สถาบันเอเชียศึกษา
อาคารประชาธิปก-รำาไพพรรณี ชั้น 7
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
-โทร. 0-2218 7411 email: ias@chula.ac.th -www.ias.chula.ac.th