สื่อสิ่งพิมพ์

หน้าแรก / สื่อสิ่งพิมพ์

เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 39/2 (2561) ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในเอเชีย New Geo-politics of Asia

เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 39/2 (2561) ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในเอเชีย New Geo-politics of Asia

JOURNAL OF ASIAN REVIEW ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561

บทบรรณาธิการ

ในช่วงเวลานี้ การแข่งขันช่วงชิงกันเป็นผู้นำทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นและรวดเร็ว แน่นอนว่าการแข่งขันดังกล่าวย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองในภูมิภาคอีกทั้งยังมีอิทธิพลสืบเนื่องมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิรัฐศาสตร์อื่นของทวีปเอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทความในวารสารเอเชียปริทัศน์ฉบับนี้ จะได้นำผู้อ่านไปร่วมสำรวจการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจและแข่งขันกันระหว่างสาธารณรัฐตุรกีและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในภูมิภาคตะวันออกกลาง การขยายอิทธิพลทางการเศรษฐกิจของสาธารณะประชาชนจีน ตลอดจนเสถียรภาพทางสังคม วัฒนธรรมและความมั่นคงในโลกมุสลิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บทความของ อาทิตย์ ทองอินทร์ ให้ความสำคัญต่อ่ความเปลียนแปลงและความต่อเนื่องในนโยบายและการดำเนินการต่างประเทศของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรัชสมัยของกษัตริย์ซัลมาน อิบนุ อับดุล อะซีส และการนำของมกุฎราชกุมารมุฮัมหมัด อิบนุ ซัลมาน อดีตประเทศผู้นำทางการเมืองและจิตวิญญาณในโลกมุสลิมที่กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงในภูมิภาค ในขณะที่บทความของ ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ ก็จะได้ช่วยให้เราเข้าใจพลวัตร

ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับตะวันออกกลางนับตั้งแต่โบราณ ตลอดจนความเป็นผู้นำของตุรกีในผู้ภูมิภาคที่ในปัจจุบันได้เริ่มกลับมาชัดเจนขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เสื่อมถอยไปเมื่ออาณาจักรออตโตมันล่มสลายในด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออก บทความของ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น จะนำผู้

อ่านไปร่วมสำรวจการขยายบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองของจีนภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง อย่างเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะในการเชื่อมโยงข้อริเริ่มของจีนกับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก หรือEEC ที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทย ที่จะต้องตระหนักถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ และยึดผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ

สำหรับบทความอีก ๒ ชิ้นในวารสารฉบับนี้ ผู้เขียนให้ความสำคัญกับแนวทางในการสร้างเสถียรภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมในภูมิรัฐศาสตร์ “โลกมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ส่วนหนึ่งนั้นก็ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากปัญหาทางการเมืองและการเปลี่ยนขั้วอำนาจในตะวันออกกลาง

บทความของ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ได้ให้สนใจศึกษา “เรื่องเล่าชวนเชื่อ” (Narratives)ของลัทธิสุดโต่งทางศาสนา โดยใช้ “เรื่องเล่า” ของไอซิส (ISIS) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกรณีศึกษา เพื่อทำความเข้าใจ “เรื่องเล่า” ของผู้นิยมความสุดโต่ง และเพื่อหาแนวทางป้องกันและสกัดกั้นการแพร่กระจายของแนวคิดสุดโต่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น บทความของสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ ได้พยายามวิเคราะห์ที่มาหรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุขอีกทั้งตั้งคำถามต่อนโยบายการศึกษาดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ต่อลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ความรุนแรงในพื้นที่บทความวิชาการในวารสารเอเชียปริทัศน์ฉบับที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ชวนให้เราขบคิดว่า วัฒนธรรมและวิถีชีวิตมลายูมุสลิมแบบดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะมาสามารถเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมและความเป็นมุสลิมสายกลางที่มีลักษณะเฉพาะของโลกมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียง

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลกและภูมิภาคได้หรือไม่

ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
บรรณาธิการประจำบับ



รายละเอียด

ผู้แต่ง

ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

ปีที่พิมพ์

2562

ราคา

150 บาท

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ