Research

Home / Research

Sort by:

คู่มือ แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ และ แรงงานไทยคืนถิ่น

วัตถุประสงค์ คู่มือ แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ และ แรงงานไทยคืนถิ่น เนื้อหาสำหรับแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ1ค่าใช้จ่าย รายได้และความคุ้มค่าในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ1.1ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเดินทางไปทำงานต่างประเทศ1.2ตัวอย่างรายได้ขั้นต่ำและการหักเงินค่าใช้จ่ายในประเทศต่างๆ1.3ความคุ้มค่า กรณีไปทำงานที่ไต้หวัน2วิธีการป้องกันตนเองจากการถูกสาย/ นายหน้า/ บริษัทจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ3ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ เมื่อไปทำงานอยู่ในต่างประเทศ3.1ข้อห้าม3.2ข้อควรปฏิบัติ4แหล่งทุน (เงินกู้)5สถานที่ติดต่อของหน่วยงานราชการไทย กรณีท่านมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจว่าถูกเอาเปรียบหรือไม่ เนื้อหาสำหรับแรงงานไทยคืนถิ่น1วิธีการบริหารจัดการรายได้ที่ได้จากต่างประเทศ2วิธีการบริหารจัดการความรู้ที่ได้จากการไปทำงานต่างประเทศ3แหล่งทุน (เงินกู้) ของรัฐในการต่อยอดธุรกิจหรืองานเกษตรกรรม/ วิสาหกิจชุมชน4การวางแผนอาชีพ หลังกลับจากต่างประเทศ5โครงการที่หน่วยงานของรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือแรงงานที่กลับมาแล้ว6โครงการรับรองประสบการณ์แรงงานคืนถิ่น7โครงการที่สนับสนุนอาชีพเพื่อแรงงานไทยจากหน่วยงานของรัฐ8การทำบัญชีครัวเรือน9การเตรียมตัวด้านอาชีพ

Researcher
สมาน เหล่าดำรงชัย นักวิจัย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย
ARCM

วัตถุประสงค์ จดหมายข่าวที่ตีพิมพ์เป็นช่วงเวลาโดย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และความพยายามดำเนินการในประเทศไทยและต่างประเทศ ท่านสามารถอ่านจดหมายข่าวนี้ทางออนไลน์ได้ที่  www.arcmthailand.com บทคัดย่อ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาคารประชาธิปกรำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330 โทร: (+66-2)218-7462, 218-7415 www.arcmthailand.com www.facebook.com/ARCMChula

Researcher
ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบล ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2558

วัตถุประสงค์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบลผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2558สาขา รัฐศาสตร์และรัฐศาสนศาสตร์ ด้วยผลงานวิจัยเด่น เศรษฐกิจการเมืองจีน,ครองแผ่นดินจีน : พรรค ผู้นำ อำนาจรัฐ, การค้าประเวณีหญิงจีนในไทย,จีนแผ่นดินที่ 5, ค่าจีนสยาม, คือ"ฮากกา" คือ"จีนแคะ"รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเซียศึกษา จุฬาฯ ได้มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบล ณ.ห้องโถงหน้าสถาบันเอเซียศึกษา ชั้น 7 ตึกประชาธิปก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักดิ์ มหัทธโนบล
การสำรวจลักษณะการจ้างงานในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลาทูน่า) ของประเทศไทย

วัตถุประสงค์ จากการที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่กลุ่มบัญชี Tier 2 (watch list) ในรายงานการค้ามนุษย์ (Trafficking in PersonsReport : TIPs Report) ประจำปี 2556 โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยภาคประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังถูกกล่าวหาเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติไม่ว่าเรื่องการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสินค้าประมง และอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องเป็นอย่างมากสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปได้พิจารณาเห็นความสำคัญและตระหนักดีว่า แรงงานเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ การประกาศนโยบายด้านแรงงานของสมาคมฯเพื่อให้สมาชิกได้ให้ความสำคัญ และร่วมมือกันให้มีการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานทำงานอย่างมีคุณค่า และมีความสุข อันจะส่งผลดีทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ สร้างคุณค่าของงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีของลูกจ้าง ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศชาติในการให้ความสำคัญกับเรี่องนี้สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า จึงได้ขอให้ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง“การสำรวจลักษณะการจ้างงานแรงงานย้ายถิ่นในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลาทูน่า) ของประเทศไทย”โดยประสงค์ให้ งานวิจัยด้านแรงงานจะสะท้อนภาพข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และแท้จริงของแรงงานที่ทำงานในโรงงานผลิตปลาทูน่า และเชื่อว่าผลของรายงานนี้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่า ไม่มีการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ และ การค้ามนุษย์ใดๆ จะส่งผลให้บรรดานานาประเทศ ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงของแรงงานข้ามชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานผลิตปลาทูน่าต่างๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันท้ายนี้ สมาคมฯ ใคร่ขอขอบคุณศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ทำการศึกษาวิจัย อย่างเที่ยงตรง เยี่ยงมืออาชีพ ตลอดจนบริษัทผู้ผลิตปลาทูน่าหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้ให้ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยทำให้รายงานฉบับนี้ได้บรรลุผลสำเร็จสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป26 พฤศจิกายน 2556 บทคัดย่อ บทสรุปประเด็นสำคัญตอนที่หนึ่งความเป็นมาของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาประเทศไทยได้ถูกพาดพิงถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงานเด็กผิดกฎหมายและการบังคับใช้แรงงานด้านประมงและต่อเนื่องประมงทะเลตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดังที่เห็นจากการนำเสนอของรายงานระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ อาทิเช่น รายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์(TIPS Report) รายงานของผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และจากรายงานFINNWATCH เป็นต้น โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยถูกจับตามองในเรื่องของแรงงานประมงและผลผลิตที่ได้จากการประมงทำให้เกิดผลกระทบในด้านการดำเนินธุรกิจการค้าที่เกี่ยวกับการประมงทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศประเด็นเรื่องการขาดแคลนแรงงานด้านประมงและประเด็นการปฏิบัติต่อแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานย้ายถิ่นในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยนั้นนับว่าเป็นประเด็นที่สำคัญและถูกจับตามองอย่างต่อเนื่องจากประชาคมโลก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการจ้างงาน โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหางาน การสำรวจลักษณะการจ้างงานแรงงานย้ายถิ่นในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลาทูน่า) ของประเทศไทยการเก็บรักษาเอกสารประจำตัวของแรงงาน การดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับสัญญาจ้าง การรับค่าจ้าง การปฏิบัติต่อแรงงาน สภาพการทำงาน โดยรวมถึงเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งสิทธิของแรงงานและการร้องเรียน โดยครอบคลุมถึงการปฏิบัติบางประการที่อาจถูกมองว่าเป็นการเข้าข่ายแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในสายตาของนานาชาติที่ำคัญ ในปัจจุบันขณะที่ตลาดโลกมีการแข่งขันสูง ประเด็นเรื่องการปฏิบัติต่อแรงงานย้ายถิ่นในภาคธุรกิจประมง อาจถูกนำมาพิจารณาเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปและอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และอาจนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับประเด็นการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและภาพลักษณ์ของสินค้าไทยแล้ว ยังจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของประเทศไทยไปยังตลาดสำคัญๆของโลกอีกด้วยการแข่งขันในเวทีตลาดโลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก กฎระเบียบด้านการค้าต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงจากการมุ่งเน้นภาษี มาเป็นการสร้างมาตรฐานอาหารปลอดภัยและการให้ความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวแรงงาน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นรูปแบบของการกีดกันทางการค้ารูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาในอีกมุมมองด้านหนึ่ง ก็สามารถเล็งเห็นได้ว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดมีการพัฒนาศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการเช่นกันดังนั้นหากกล่าวถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ก็คงต้องควรพิจารณาไปในทิศทางที่สอดคล้องต่อมาตรฐานแรงงานและมาตรการทางการค้าต่างๆ ที่มีอยู่หรือที่กำลังจะออกมาในอนาคตในด้านเทคโนโลยีการผลิตและแรงงาน ผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์ปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต ดังนั้นการที่มีต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นก็ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานด้วย จึงสามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสามารถช่วยตอบสนองความต้องการทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างได้อย่างเหมาะสมด้านแรงงานพื้นฐานหรือแรงงานไร้ฝีมือ ในปัจจุบันมีการขาดแคลนสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหาร ภาครัฐได้มีการผ่อนผันและอนุญาตให้มีการใช้แรงงานย้ายถิ่นมากขึ้นกว่าในอดีต และได้มีการออกมาตรการควบคุมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนับว่าช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานให้กับผู้ประกอบการลงได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามมาตรการการควบคุมบางอย่างยังมีช่องว่างและเป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติ และควรที่ต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ภายใต้ความพึงพอใจของทุกฝ่ายจากข้อมูลของกลุ่มเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN: Migrant Worker Rights Network) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) (22 พฤษภาคม 2556) ระบุว่า ประเทศไทยมีแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว คิดเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น แปรรูปอาหารทะเล เกษตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม ก่อสร้างและการดูแลรับใช้ในบ้าน แรงงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงาน ประสบสภาพการทำงานที่เลวร้าย รวมทั้งการจ่ายค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่ตกลงและไม่ชำระเงินค่าจ้าง มีการละเมิดกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ มีการให้ทำงานล่วงเวลาเป็นเวลานาน การทำงานที่เป็นอันตรายและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังการปฏิเสธเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง ที่เลวร้ายกว่านั้นมีบางรายถูกบังคับให้ทำงานเพื่อปลดหนี้ การบังคับใช้แรงงานและการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมเหล่านี้

รัชดา ไชยคุปต์, วรัญญา จิตรผ่อง, สมาน เหล่าดำรงชัย,ธัญญาภรณ์ วงศ์บุญชัยนันท์, พศกร โยธินนีรนาท, ผจงรักษ์ ศรีไชยวงศ์
Assessing Potential Changes in the Migration Patterns of Myanmar Migrants and their Impacts on Thailand

วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้ทราบว่า การเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่าส่งผลต่อรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้ย้ายถิ่นชาวพม่าในประเทศไทยอย่างไร1.2 เพื่อคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้ย้ายถิ่นชาวพม่าในประเทศไทย จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และประเทศพม่าอย่างไร1.3 เพื่อสร้างข้อเสนอแนะ ถึงวิธีการเพิ่มผลเชิงบวก และลดผลกระทบเชิงลบ ต่อทั้งกลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้ว่าจ้าง ชุมชนที่อยู่อาศัย และชุมชนซึ่งผู้ย้ายถิ่นจะตั้งถิ่นฐานใหม่ในอนาคต

เปรมใจ วังศิริไพศาล, วรัญญา จิตรผ่อง, รัชดา ไชยคุปต์, แก้วคำ เสนพันธุ์
โครงการการพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ระยะที่ 3

วัตถุประสงค์ เพื่อขยายพื้นที่การถักทอเครือข่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับกิจการพลังงานและสิทธิของผู้ใช้พลังงานให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเพื่อวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน รวมทั้งสร้างความใจเกี่ยวกับบทบาทของแต่ละ เครือข่ายในแต่ละเขตพื้นที่ให้แก่สำนักงาน กกพ. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำกับกิจการพลังงานในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดเครือข่ายคุ้มครองสิทธิฯ ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่ และลักษณะการใช้พลังงานที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปูรากฐานการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับประชาชนมากที่สุด

รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
โครงการวิจัยเรื่อง“ประกอบสร้างความรู้เรื่องอยุธยาตอนปลาย”

วัตถุประสงค์ Review the perception and knowledge of Thai history of the late Ayutthaya period or the Ban Phlu Luang dynasty. From the Thonburi period to the present From various types of documents such as royal chronicles, archives, literary works, narratives, including studies, dissertations, research papers, academic articles, and others of Thai and foreign scholars.Analyze the development of perception of late Ayutthaya history Both in terms of using data evidence Hearty beliefs, interpretations, and the influence or impact of the development of knowledge of Thai history in the late Ayutthaya period on societyStudy and research from documents, publications, maps, inscriptions, antiques, ancient places, and other places, although they appear And discover new ones as historical evidence related to the eraCompile research on various topics related to late Ayutthaya history To lead to a clearer understanding Is beneficial to the development of Thai history during the Ayutthaya periodTo create a debate Exchange ideas in the forum for studying Thai history during the Ayutthaya period. And promote continuing education in the future

Associate Professor Dr. Sunet Chutinatharanon