สื่อสิ่งพิมพ์

หน้าแรก / สื่อสิ่งพิมพ์

“มาสคอต” คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตอนที่ 1 : มาสคอต คือ อะไร?)

โดย กฤษบดินทร์ วงค์คำ

(ตอนที่ 1 : มาสคอต คือ อะไร?)
            คำว่า “มาสคอต” (Mascot) แรกเริ่มนั้นมีการคาดการณ์กันว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ในภาษาฝรั่งเศส คำว่า “Mascoto” แปลว่า “แม่มด หมอผี หรือเทพธิดา” ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่ก่อให้เกิดคำว่า “Mascotte” ที่แปลว่าเครื่องรางของหมอผี โดยเดิมทีนั้นคำนี้มักจะใช้ในการอวยพรโชคให้เข้าข้างสำหรับนักพนัน แต่ต่อมาคำนี้ก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น ในช่วงปี 1880 เป็นต้นมา หลังจากที่คณะละครโอเปราฝรั่งเศสได้มีการเล่นละครโอเปราที่ชื่อว่า “La Mascotte” (The Mascot) ซึ่งเป็นละครที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเกษตรกรชาวอิตาเลียนที่เพาะปลูกพืชอะไรก็ไม่ขึ้นจนกระทั่งได้พบกับหญิงสาวแปลกหน้านามว่า Bettina มาให้การช่วยเหลือ และทำให้พืชผลของเขางอกงามขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง Bettina จึงเป็นผู้ที่นำเอาโชคลาภและสิ่งดีๆ มาให้เขา หลังจากนั้นความโด่งดังของละครโอเปราเรื่องนี้ก็ได้ส่งผลให้ คำว่า “Mascot” ได้ถูกพูดถึงในวงกว้างโดยมีความใหม่ที่แปลว่า “สิ่งที่จะเอาโชคลาภและสิ่งดีๆ มาให้[1]” และต่อมาคำว่ามาสคอตจึงกลายเป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และกลายเป็นตัวแทนของภาพลักษณ์ในเชิงบวกไปโดยปริยาย

ที่มาภาพ : http://www.operette-theatremusical.fr/2015/07/26/la-mascotte/

            นอกจากนี้ ยังมีการสันนิษฐานเกี่ยวกับการปรากฏขึ้นของคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนมาสคอตอย่างเป็นทางการตัวแรกที่พบว่าอาจจะถูกสร้างขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 โดยมาสคอตตัวแรกที่เกิดขึ้นถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสินค้าและแบรนด์ทางธุรกิจของยางมิชลินที่มีชื่อว่า “Bibendum” ปรากฏตัวครั้งแรกในปี 1898 ในแผ่นโฆษณาตัวแรกของยางมิชลิน ภายใต้ความต้องการให้มาสคอตตัวนี้เป็นตัวแทนที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าและสื่อถึงภาพลักษณ์เชิงบวกของแบรนด์ มาสคอตตัวนี้ถือว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ของยางมิชลินเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ปัจจุบันมาสคอต Bibendum ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ยางมิชลินมาอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์เล็กน้อยเพื่อให้มาสคอต Bibendum มีความน่ารักน่ามองมากขึ้น[2]

ที่มาภาพ : http://secretagencyblog.blogspot.com/2017/06/logo-to-go.html

           

            ทั้งนี้ เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “มาสคอต” โดยความหมายแล้วนั้นก็คือ สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แทนได้ทั้งสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ โดยมาสคอตจะมีหน้าที่หลักเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างให้เกิดการจดจำที่ดีอันนำไปสู่ภาพลักษณ์เชิงบวกต่อไป และเพื่อให้ง่ายต่อการเกิดการจดจำที่น่าประทับใจจึงส่งผลให้นักออกแบบมาสคอตส่วนใหญ่ใส่ใจในรายละเอียดของการออกแบบมาสคอตเป็นอย่างมาก ทำให้การสร้างสรรค์มาสคอตให้ออกมาในรูปลักษณ์ของสิ่งที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ร่วมกันได้โดยง่ายอย่างการใช้ตัวการ์ตูนสัตว์หรือตัวละครที่มีความเป็นมนุษย์จึงเป็นกลยุทธ์ในการออกแบบที่สร้างให้เกิด            ความประทับใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากคาแรกเตอร์จากตัวการ์ตูนเหล่านี้เป็นที่คุ้นชินกันดีอยู่แล้วและกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่ดีได้ง่ายอีกทั้งยังดูไม่ไกลตัวมนุษย์มากจนเกินไปและที่สำคัญคาแรกเตอร์เหล่านี้จะช่วยลดความต่อต้านที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย[3]

            ด้วยเหตุนี้ มาสคอตส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบให้ออกมาเป็นคาแรกเตอร์ของตัวการ์ตูนคนหรือสัตว์ที่มีลักษณะที่แสดงออกถึงความน่ารักน่าเอ็นดู มีความบริสุทธิ์และไร้เดียงสา จนอาจกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะตัวของความเป็นมาสคอตที่เป็นมาตรฐานก็คือ การมีบุคลิกลักษณะและการแสดงออกที่มีความสดใสร่าเริงเหมือนเด็กโดยต้องรับกับการออกแบบสัดส่วนของร่างกายให้มีความโด่ดเด่นและแตกต่างจากรูปร่างปกติของคนและสัตว์ที่เป็นต้นแบบด้วย อย่างเช่น หัวโต ตาโต ยิ้มกว้าง ตัวอ้วนกลม แขนขาสั้นป้อม ขนนุ่มนิ่ม สีสันสดสวย เพื่อที่จะทำให้มาสคอตมีความน่าสนใจมากขึ้น[4] นอกจากนี้ การสร้างเรื่องราวและการสร้างลักษณะนิสัยเฉพาะตัวให้กับมาสคอตจะเข้ามาช่วยเพิ่มมิติและความน่าสนใจให้กับคาแรกเตอร์ของมาสคอตได้เป็นอย่างมากอีกด้วย เพราะการสร้างเรื่องราวให้กับมาสคอตสามารถช่วยเพิ่มที่มาที่ไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงเบื้องลึกของมาสคอตและการสร้างลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของมาสคอตก็ยังทำให้มาสคอตมีจิตวิญญาณของความเป็นสิ่งมีชีวิตมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นโอกาสที่จะสอดแทรกมุมมองหรือวิสัยทัศน์ของแบรนด์ให้กับมาสคอตได้อย่างแนบเนียน กล่าวได้ว่าการสร้างเรื่องราวและลักษณะนิสัยเฉพาะตัวจะเป็นตัวช่วยเสริมสร้างมิติให้มาสคอตให้น่าจดจำและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นอันจะทำให้ผู้ที่พบเห็นและผู้ที่มีโอกาสได้เข้ามารู้จักรู้สึกผูกพันกับมาสคอตได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันมาสคอตก็จะส่งผลให้เกิดการจดจำที่ดีต่อแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป[5]

            ศักยภาพของมาสคอตนอกจากจะเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างให้เกิดการจดจำที่ดีสู่สาธารณะได้แล้วนั้นมาสคอตยังถือว่าสามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว สร้างสีสันให้กับกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งมาสคอตยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำหน้าที่เป็นสื่อที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์โครงการหรือการรณรงค์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ทำให้จากศักยภาพที่หลากหลายดังกล่าวเป็นเหตุให้ในปัจจุบันหลายภาคส่วนเริ่มให้ความสนใจหันมาใช้มาสคอตในการประชาสัมพันธ์กันมากขึ้นเพราะมาสคอตที่เป็นคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนไม่เพียงแต่สามารถทำให้บรรลุจุดประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป้าหมายสู่สาธารณะได้ง่ายขึ้นเท่านั้น หากแต่ยังสร้างเสน่ห์ให้กับแบรนด์เป็นอย่างดีได้อีกด้วย และที่สำคัญมาสคอตยังสามารถเข้าไปเชื่อมโยง ลดระยะห่าง ลดความตึงเครียดในบ้างเรื่อง รวมถึงช่วยปรับภาพลักษณ์องค์กรให้เข้าถึงง่ายขึ้นหรือในบางครั้งมาสคอตก็ยังเข้าไปเป็นตัวแทนที่ทำให้เกิดความเข้าใจในวิสัยทัศน์หรือนโยบายได้ด้วย[6]

            นอกจากนี้ การนำมาสคอตที่เป็นคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนมาใช้เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ยังถือเป็นการสร้างข้อได้เปรียบด้านการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากมาสคอตที่เป็นตัวการ์ตูนจะสามารถสร้างให้เกิดความประทับใจได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการใช้ตัวแทนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ได้แล้วนั้นในเชิงกายภาพมาสคอตยังถือว่ามีข้อได้เปรียบกว่าการใช้มนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมาสคอตเป็นเพียงตัวการ์ตูนซึ่งมีความได้เปรียบในการมีรูปลักษณ์ภายนอกที่มีความเป็นอมตะ คือไม่แก่และไม่ตาย ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการนำมาใช้เป็นตัวแทนเพื่อสร้างให้เกิดการจดจำในระยะยาวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของมาสคอตที่เป็นตัวการ์ตูนจะไม่แปรเปลี่ยนแม้เวลาจะผ่านไปนานเพียงใดหากแต่จะยิ่งทำให้เกิดความคุ้นชินจนกลายเป็นภาพจำที่ทรงประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น[7]

            อย่างในกรณีของประเทศญี่ปุ่นพบว่ามาสคอตตัวการ์ตูนถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์แบรนด์และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงถูกนำมาใช้ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองต่างๆ อย่างแพร่หลาย จนกล่าวได้ว่าการมีมาส    คอตของตนถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางการตลาดที่ขาดไม่ได้และมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการวางแผนการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นปัจจัยทางการตลาดที่สำคัญมากในปัจจุบัน สังเกตได้จากผลการสำรวจตลาดการบริโภคสินค้าและบริการของชาวญี่ปุ่นได้บ่งชี้ว่าชาวญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 87 ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่มีการนำเอาคาแรคเตอร์จากตัวการ์ตูนรวมถึงมาสคอตที่ตนชื่นชอบมาเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์เป็นหลักทำให้คาแรกเตอร์จากตัวการ์ตูนและมาสคอต กลายเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และธุรกิจรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี[8]

            (โปรดติดตามอ่านบทความนี้ในตอนที่ 2 ที่จะอธิบายถึงกลยุทธ์การนำมาสคอตมาใช้กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยศึกษาจากความสำเร็จของมาสคอตประจำเมืองของประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีตัวอย่าง)


รายการอ้างอิง

กะรัตเพชร บุญชูวิทย์ และวรัชญ์ ครุจิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. “การศึกษาการสื่อสารแบรนด์ของคุมะมงผ่านสื่อออนไลน์.”             วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า 4, 1 (มกราคม-เมษายน 2561): 45.

นฤพนธ์ คมสัน. “ทฤษฎีและแนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค Local Identity with Folklore in Mascot Design.”          วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 5, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561): 98.

อาศิรา พนาราม. วัฒนธรรมป๊อปกับการบริหารรัฐกิจ : เมื่อ “มาสคอต” สุดเซ็กซี่ของญี่ปุ่นมารับราชการตำรวจ. TCDC      (Thailand Creative & Design Center). สืบค้นจาก https://2www.me/0p4k8. (เข้าถึงวันที่ 21 มีนาคม 2563).

Mr.Mee. มาสคอต (mascot) ช่วยสร้างภาพจำของแบรนด์ สิ่งที่ควรรู้ก่อนจ้างบริษัทรับผลิตการ์ตูน. Mr. Mee Studio. สืบค้น       จาก https://2www.me/0sxx4. (เข้าถึงวันที่ 20 มีนาคม 2563).

Thaiware. มาสคอตคืออะไร มาจากไหน ทำไมถึงเรียกว่ามาสคอต?. Line Today. สืบค้นจาก https://1th.me/OvGSu, (เข้าถึง       วันที่ 21 มีนาคม 2563).


[1] Thaiware, มาสคอตคืออะไร มาจากไหน ทำไมถึงเรียกว่ามาสคอต?, Line Today, สืบค้นจาก https://1th.me/OvGSu, (เข้าถึงวันที่ 21 มีนาคม 2563).

[2] เรื่องเดียวกัน.

[3] กะรัตเพชร บุญชูวิทย์ และวรัชญ์ ครุจิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, “การศึกษาการสื่อสารแบรนด์ของคุมะมงผ่านสื่อออนไลน์,” วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า 4, 1 (มกราคม-เมษายน 2561): 45.

[4] นฤพนธ์ คมสัน, “ทฤษฎีและแนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค Local Identity with Folklore in Mascot Design,” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 5, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561): 98.

[5] _______, เรื่องเดียวกัน, หน้า 99.

[6] กะรัตเพชร บุญชูวิทย์ และวรัชญ์ ครุจิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า 45.

[7] Mr.Mee, มาสคอต (mascot) ช่วยสร้างภาพจำของแบรนด์ สิ่งที่ควรรู้ก่อนจ้างบริษัทรับผลิตการ์ตูน, Mr. Mee Studio, สืบค้นจาก https://2www.me/0sxx4, (เข้าถึงวันที่ 20 มีนาคม 2563).

[8] อาศิรา พนาราม, วัฒนธรรมป๊อปกับการบริหารรัฐกิจ : เมื่อ “มาสคอต” สุดเซ็กซี่ของญี่ปุ่นมารับราชการตำรวจ, TCDC (Thailand Creative & Design Center), สืบค้นจาก https://2www.me/0p4k8, (เข้าถึงวันที่ 21 มีนาคม 2563).


            


บทความล่าสุด

ชุมนุมฮ่องกงกับภาษาปริศนา
ชุมนุมฮ่องกงกับภาษาปริศนา

โดย ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ สถานการณ์การชุมนุมประท้วงของประชาชนคนฮ่องกงนั้นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องด้วยการชุมนุมอันยืดเยื้อและข่าวลือต่างๆ ที่มีมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้การชุมนุมนี้สร้างผลกระทบในวงกว้าง สถานการณ์การชุมนุมนี้มีสาเหตุมาจากการต่อต้านร่างกฏหมายส่งตัวผ

ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ
2563
กระแสเอเชีย
ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย
ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย

โดย ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ Di Bawah Lindungan Ka’bah หรือ ภายใต้การปกป้องของกะอ์บะฮ์ เป็นนวนิยายของ ศาสตราจารย์ ดร. ฮัจยี อับดุล มาลิก บิน ดร. ซายิก ฮัจยี อับดุล คารีม อัมรุลลา หรือ ฮามก้า (Hamka) นักคิดนักเขียนชาวอินโดนีเซียเชื้อสายมินังกะเบา จากเกาะสุมาตรา ที่ชาวอินโดนีเซียเคารพรั

ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ
2563
กระแสเอเชีย
ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่ง “มิตรภาพใหม่”
ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่ง “มิตรภาพใหม่”

โดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2020 ว่าตนเองได้เดินทางเยือนประเทศบาห์เร

ดร.ศราวุฒิ อารีย์
2563
กระแสเอเชีย
Nyida Parik: การเต้นต้อนรับขบวนเจ้าสาวของชาวกาโล
Nyida Parik: การเต้นต้อนรับขบวนเจ้าสาวของชาวกาโล

โดย ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย ชายชาวกาโลกำลังฝึกซ้อมการแสดง Nyida Parik ที่ลานหญ้าของหมู่บ้าน ภาพถ่ายโดย ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย เข็มนาฬิกาแสดงเวลาตีห้าเศษ แต่แสงอาทิตย์ได้ส่องเหนือหุบเขาบาซาร์ (Basar) จนสว่างไสวแล้ว เช้าวันนี้ผู้เขียนได้รับการชักชวนให้มาชมการซ้อมเต้น Nyida Parik

ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย
2563
กระแสเอเชีย
วิเคราะห์เศรษฐกิจ-สังคมจีน “ เทคโนโลยีในยุค 5.0 กับวิถีชีวิตของคนจีนในปัจจุบัน ”
วิเคราะห์เศรษฐกิจ-สังคมจีน “ เทคโนโลยีในยุค 5.0 กับวิถีชีวิตของคนจีนในปัจจุบัน ”

แปลและเรียบเรียงโดย กรองจันทน์  จันทรพาหา (ที่มาภาพ : https://ss0.bdstatic.com/70cFuHSh_Q1YnxGkpoWK1HF6hhy/it/u=2739498971,358910417&fm=26&gp=0.jpg ) ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ

ดร.กรองจันทน์ จันทรพาหา
2563
กระแสเอเชีย