สื่อสิ่งพิมพ์

หน้าแรก / สื่อสิ่งพิมพ์

วิเคราะห์เศรษฐกิจ-สังคมจีน “ เทคโนโลยีในยุค 5.0 กับวิถีชีวิตของคนจีนในปัจจุบัน ”

แปลและเรียบเรียงโดย กรองจันทน์  จันทรพาหา


(ที่มาภาพ : https://ss0.bdstatic.com/70cFuHSh_Q1YnxGkpoWK1HF6hhy/it/u=2739498971,358910417&fm=26&gp=0.jpg )

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา   เมื่อมองย้อนกลับไปบนเส้นทางการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนในปี ค.ศ.1978  การปฏิรูปทำให้จีนนำไปสู่การพัฒนาทางเทคโนโลยี  จากเดิมเริ่มแรกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกำลังทางการผลิตเป็นอันดับหนึ่ง  ต่อมาได้เข้าสู่การที่นวัตกรรมเป็นแรงผลักอันดับหนึ่งในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  จากการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการศึกษา  จากยุทธศาสตร์ทางความสามารถของคนในประเทศไปจนถึงการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา  จากการเพิ่มความสามารถในการการสร้างนวัตกรรมของประเทศ  การปฏิรูปเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์จึงได้กลายมาเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีและสำคัญในการปฏิรูปเปิดประเทศของจีน  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความล้ำหน้า   โดยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ของจีนมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์และการพัฒนามีการเติบโตไปพร้อมๆกัน  เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างครบวงจรของจีน  จนทำให้จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

ในประเทศจีนนั้นไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมหรือแม้แต่การดำเนินชีวิตของคนก็ตาม  ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทั้งสิ้น  เพราะเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น  ในภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมเมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ช่วยในเรื่องของการประหยัดต้นทุน การประหยัดแรงงานและการประหยัดเวลา   ซึ่งประเทศจีนถือเป็นตลาดสำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่ต้องสงสัย  โดยมีการคาดการณ์ว่า ตลาดค้าปลีกแดนมังกรจะยังคงมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9% ต่อไป นับตั้งแต่ปี 2017 ไปจนถึงปี 2021  จากสถิติที่สำรวจโดย PWC ยังบ่งบอกอีกว่าคนจีน 50% ซื้อสินค้าออนไลน์ทุกสัปดาห์ เทียบกับคนทั้งโลกที่มีอัตราการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นประจำที่ 22%  โดยสินค้าที่คนจีนสั่งซื้อออนไลน์มากที่สุด 59% คือสินค้าอุปโภคบริโภค  ฐานลูกค้าที่สำคัญคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Millennials  ที่มีจำนวนมากถึง 410 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าประชากรในทวีปอเมริกาเหนือ [1]

การใช้เทคโนโลยีของคนจีนในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้จีนได้เข้าสู่เทคโนโลยีในยุค 5.0  เป็นยุคที่เรียกว่าเป็นสังคมแบบ Super Smart  คือ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้นและช่วยในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ได้อย่างอัจฉริยะและตอบสนองการใช้ชีวิตได้อย่างรอบด้านมากขึ้น  หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่า เป็นยุคที่รวมเอาโลกไซเบอร์และโลกแห่งความจริงเข้าด้วยกัน โดยมีเทคโนโลยีและ AI เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อน [2]  ซึ่งต่างจากยุค 1.0, 2.0, 3.0 และ 4.0 ดังนี้ ในยุค 1.0 คือ การพัฒนาประเทศบนฐานรายได้ภาคเกษตรกรรมและหัตถกรรมเป็นหลัก ยุค 2.0 คือ การพัฒนาประเทศโดยเน้นอุตสาหกรรมเบา เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูก  ยุค 3.0 คือ การพัฒนาประเทศโดยใช้อุตสาหกรรมหนักเป็นตัวขับเคลื่อน เร่งรัดการผลิตเพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออก และยุค 4.0 คือ เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นเศรษฐกิจที่เน้นมูลค่าเป็นหลัก (Value-Based Economy) โดยที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ อันเกิดจากผลของการพัฒนายุค 4.0 เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลาย บางเทคโนโลยีก็ได้เข้ามามีบทบาทแทนมนุษย์

( ที่มาภาพ : https://www.mindphp.com/บทความ /65-archive/4691-ai-for-video-picture-social-non-human.html )

เนื่องด้วยประเทศจีนเป็นประเทศที่มักจะเปิดตัวและมีการคิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆให้ได้เห็นกันบ่อยครั้ง   ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง ที่จีนสามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงได้เองและพัฒนาระบบออกขายไปทั่วโลกได้อีกด้วย   “อาลีเพย์” (Alipay) หรือ “支付宝 (จือ ฟู่ เป่า)” หรือ “ธนาคารอินเทอเน็ต” ที่สามารถทำธุรกรรมผ่านอินเทอเน็ตได้ โดยสามารถผูกเข้ากับบัตรเครดิต สามารถถอนเงิน เติมเงิน ชำระค่าสินค้าต่างๆ ทั้งในเว็บของจีนและใช้ซื้อของได้ทั่วไป   อีกทั้งยังสามารถจ่ายค่าอาหารในฟู้ดคอร์ท ตลาดสด ร้านค้าต่างๆ เป็นต้น  ทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อสินค้าและบริการ  ซึ่งมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย  เพราะเพียงพกแค่โทรศัพท์มือถือ ก็เหมือนมีเงินสดอยู่ในมือ  ปัจจุบันมีบางเมืองใหญ่ของจีนที่แทบจะใช้แต่เงินบนโทรศัพท์มือถือนี้เท่านั้น 

นอกจากนี้ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เป็นแนวคิดในการแชร์การใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเป็นเจ้าของสิ่งที่ใช้ [3]   โดย “สังคมร่วมแชร์ (Social sharing) ” ในปัจจุบันจีนเริ่มที่จะใช้การแชร์สิ่งของร่วมกัน เพื่อลดการซื้อหรือประหยัดทรัพยากรได้มากขึ้น เช่น แทนที่จะซื้อรถจักรยานแล้วต้องมาคอยกังวลในการจอดว่าจะหายหรือไม่ ก็มี “จักรยานร่วมแชร์  (Bike sharing) ” คือเมื่อต้องการใช้ก็เพียงแต่ใช้แอพพลิเคชั่นในมือถือไปเปิดจักรยานตามท้องถนน เมื่อใช้เสร็จก็นำไปจอดคืน สนนราคาก็ถูก เพียงชั่วโมงละ 1 หยวน (ประมาณ 5 บาท)  หรือ “ร่มร่วมแชร์  (Umbella sharing) ” ก็ไม่ต้องพกร่มเองให้เกะกะ ถึงเวลาอยากใช้ก็มาเอาไปใช้ แล้วนำไปคืน หรือแม้แต่ “แบตสำรองร่วมแชร์  (Power bank sharing) ” ก็สะดวกสบาย ไม่ต้องพกพาให้หนักกระเป๋า เพราะส่วนใหญ่จะมีให้ยืมได้ที่ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มและห้างสรรพสินค้า เมื่้อใช้เสร็จก็นำไปคืน เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตาม สังคมร่วมแชร์ นี้คงต้องอาศัยคนในสังคมที่มี จิตสำนึกที่ดีกว่านี้ ไม่ใช้พอใช้งานเสร็จแล้ว เอาของไปเก็บเป็นของตัวเอง  และอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญต้องกล่าวถึงคือ “การซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) ” เนื่องจากทุกวันนี้กระแสของการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจีน ไม่ว่าจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ประจำวัน  แม้แต่ของกินในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็ยังสามารถซื้อออนไลน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และบางที่ก็จะจัดการส่งสินค้าภายใน 3-4 ชั่วโมง  ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเรียกได้ว่า เป็นเทคโนโลยี 4.0 ของจีนที่ก้าวล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ   แต่ที่เห็นจะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและล้ำสุดของจีนในยุค 5.0 ขณะนี้ก็คือ “ Big Data และ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  (Artificial Intelligence) [4] ”  หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว “ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ” หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์ (อาจจะฉลาดกว่ามนุษย์อีก)  ซึ่งเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน เพราะการสอดประสานระหว่าง “สามพลัง” คือ พลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (computational power) พลังของข้อมูลปริมาณมหาศาล (big data) และพลังของขั้นตอนการวิเคราะห์คำนวณ (algorithm) โดย AI สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเรื่องทุกวงการ และจุดเด่นหนึ่งของ AI คือ สามารถเขียนขั้นตอนการวิเคราะห์คำนวณให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ถูกผิดและปรับปรุงตัวเองได้  เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการเรียนรู้ และ self-correction หนึ่งในสาขาของปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก คือ Machine Learning  ส่วน  Big Data  เป็นเทคโนโลยีคลังเก็บข้อมูลใหม่ที่ไม่ใช่แค่ใหญ่อย่างเดียวแต่ยังฉลาดวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวเลขอดีตถึงปัจจุบันย้อนหลังได้อย่างแม่นยำ ลองคิดดูว่าในแต่ละวันมีการใช้อินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ รวมถึงรูปภาพในแต่ละวันของประชาชนมีจำนวนกี่ครั้ง กี่เรื่องราว กี่ข้อมูล  การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันของประชาชนจีนเปลี่ยนไปมากมายหลังการเติบโตของ Big Data  อย่างเช่นที่เป็นเสียงฮือฮามากในตอนนี้ก็คือ  ระบบการจดจำใบหน้าอัจฉริยะที่ถูกเอามาใช้ในด้านตำรวจรักษาความปลอดภัย  ซึ่งระบบการจำแนกใบหน้านี้เป็นระบบสุดยอดการคัดกรองจำแนกใบหน้าของผู้คน  โดยมีการวิเคราะห์ที่เพิ่มประสิทธิภาพและฐานข้อมูลจำนวนมากจะทำการรวบรวมและวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว  มีความเร็วระดับหมื่นล้านตัวเลขใช้เวลาหนึ่งวินาทีในการตอบกลับ  ระบบจำแนกหน้าคนมี 40 คุณลักษณะของใบหน้า อายุ เพศ สีหน้า หนวด  อีกทั้ง Big Data นี้ยังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจุดบอดในการวิเคราะห์ใบหน้าและเพิ่มประสิทธิภาพให้วิเคราะห์ได้แม่นยำมากขึ้น 

Title: ภาพกราฟฟิกแผนที่แสดงของเมืองต่างๆในประเทศจีนที่มีการพัฒนาด้านบิ๊กดาต้ามากที่สุด ได้แก่ ปักกิ่ง (78.22 คะแนน)  ตามด้วยกว่างตง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง ซันตง กุ้ยโจว ฉงชิ่ง ฝูเจี้ยน และเสฉวน
ภาพแผนที่ของเมืองต่างๆในประเทศจีนที่แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาด้าน Big Datda มากที่สุด ได้แก่ ปักกิ่ง (78.22 คะแนน) ตามด้วยกว่างตง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง ซันตง กุ้ยโจว ฉงชิ่ง ฝูเจี้ยน และเสฉวน
(ที่มาภาพ :  https://mgronline.com/china/detail/9620000020305)

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ระบบการจดจำใบหน้าอัจริยะของจีนได้รับการยอมรับและถูกใช้ในหลายพื้นที่เช่น สถานีรถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน สนามบิน โรงแรม ในสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาเยอะ  ซึ่งเห็นได้ว่าการมีระบบการจดจำใบหน้า Big Data นี้เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ตำรวจในการจับผู้ร้ายเป็นอย่างมาก ทำให้การค้นหาผู้ร้ายเป็นไปอย่างง่ายดายและแม่นยำมากขึ้น [5]

บทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อคนจีนในปัจจุบัน

          ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนจีน  หรือในทุกๆ ด้านจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนจีนไปเลยก็ว่าได้ และทุกทุกวันเทคโนโลยีก็ได้ถูกพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งยิ่งขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากเทคโนโลยีเอื้ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนจีนในหลายๆด้าน ดังนี้

1.ด้านเศรษฐกิจ  เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจ  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจของจีนจะเกิดการชะลอตัวลง สาเหตุอาจจะมาจากผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ทำให้ภาคการผลิตขยายตัวต่ำ ตัวเลขการส่งออกของจีนและผลกำไรทางการค้าก็ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ [6]  โดยภาคอุตสาหกรรมมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตนั้น เนื่องมาจากมีการใช้หุ่นยนต์ทดแทนแรงงานคน จึงช่วยลดต้นทุนในการผลิต ลดการใช้แรงงานจากคน ทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการจำหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าจีนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาถูก ส่งออกได้ในปริมาณที่มาก ก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดี  ซึ่งการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศจีนเอง ก็มีการแข่งขันกันอยู่เรื่อยๆ จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันระหว่างประเทศได้อีกด้วย เพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ จากการแข่งขันการผลิตที่มีคุณภาพ  แต่ในขณะเดียวกันในหลายๆขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดมลภาวะ สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้ เช่น ภาวะหมอกควันพิษ ภาวะโลกร้อน เป็นต้น

2.ด้านการดำเนินธุรกิจ  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ  ทำให้การทำธุรกิจมีความสะดวกมากขึ้น  บริษัทสามารถติดต่อกับผู้ส่งสินค้าและลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้บริหารได้รับข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การขยายตัว การเลือกซื้อหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น [7]  การโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางทางอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook  Instragram  Youtube  เป็นต้น ส่งผลให้บริษัทที่รู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทำให้มีผลกำไรมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งคนจีนในยุค 5.0 ก็มีการจับจ่ายใช้สอยกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยผ่านการซื้อสินค้าแบบออนไลน์ ไม่ต้องเดินออกจากบ้านเพื่อไปซื้อ หลังจากนั้นก็ทำการจ่ายเงินผ่านแอพพลิเคชั่น We Chat หรือตัดเงินผ่านบัตรเครดิตก็สามารถทำได้ง่ายและสะดวกสบายเป็นอย่างมาก หรือเมื่อไปข้างนอกก็ไม่ต้องพกเงินสด เพราะทำการจ่ายเงินผ่านแอพลิเคชั่น We Chat ก็สามารถจ่ายได้แล้ว  ซึ่งทำให้ทั้งตัวธนาคารเองและประชาชนที่มาใช้บริการ ก็ได้รับความสะดวกไปพร้อมๆกัน จึงเป็นการประหยัดเวลาของทั้งสองฝ่าย

3.ด้านชีวิตประจำวัน   เทคโนโลยีชีวิตประจำวันมีผลทางความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่อชีวิตประจำวันของคนเรา  ซึ่งถ้าในอนาคตเมื่องานขาดความยืดหยุ่นหรือขาดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์  (AI)  ดังที่เห็นได้จากจีน เมื่อ 9 พ.ย.2561 สำนักข่าวซินหัว เปิดตัวผู้ประกาศข่าวปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI คนแรกของโลก ในงานประชุม World Internet Conference ครั้งที่ 5 ณ เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2561  สำนักข่าวซินหัว ได้ร่วมมือกับบริษัทเสิร์จ เอ็นจิน (serch engine) Sogou.com พัฒนาผู้ประกาศข่าวชาย AI พูดภาษาอังกฤษและภาษาจีน ขึ้นมาเป็นคนแรกของโลก และตั้งชื่อให้ว่า ‘He’ ซึ่งใบหน้า รูปลักษณ์ และน้ำเสียงมีต้นแบบมาจาก นายจาง เจา ผู้ประกาศข่าวชายคนเก่ง ของสำนักข่าวซินหัว  ซึ่งสามารถทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวันบนเว็บไซต์  รวมทั้งทุกแพลตฟอร์ม (Platform) บนโซเชียล มีเดียของสำนักข่าวซินหัว โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการรายงานข่าวให้ดียิ่งขึ้น [8]   นอกจากนี้ จีนได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาสู่การบริการและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อภาคการผลิตและขอบเขตทางเศรษฐกิจให้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก  เห็นได้จากเมื่อไม่นานมานี้จากนสพ.ไทยรัฐได้มีรายงานว่า แพทย์ชาวจีนใช้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ในการควบคุมแขนหุ่นยนต์ให้ผ่าตัดสุกรจากระยะไกลได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก เรียกว่าเปิดประตูแห่งความสดใสของวงการแพทย์ ที่จะก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ด้วยอินเตอร์เน็ตที่มีเสถียรภาพอย่าง 5G นับว่าเป็นอนาคตที่หลายคนรอคอยอย่างใจจดจ่อ [9]  ทำให้วงการแพทย์มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ถ้ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นแพทย์ก็สามารถจัดการได้ทันท่วงที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทาง จึงเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอีกด้วย   ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ชีวิตเกิดความสะดวกสบาย ผู้สูงวัยชาวจีนนับร้อยล้านกลับประสบปัญหาไล่ตามโลกดิจิทัลไม่ทัน รู้สึกโดดเดี่ยวจากสังคมและไม่สามารถเข้าถึงบริการหลายอย่างที่เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลได้  เนื่องมาจากในจีนมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่นทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือราว 890 ล้านราย ทว่าจีนมีจำนวนประชากรเกือบ 1.4 พันล้านคน ขณะที่เขตเมืองของจีนแทบจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดโดยสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่กาแฟตลอดจนรถยนต์สามารถซื้อขายได้ผ่านหน้าจอมือถือ  ซึ่งจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ก็ทำให้ผู้สูงวัยที่เริ่มใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆไม่เป็น ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง [10]

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้การดำเนินชีวิตของคนเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่เกิดขึ้น  แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือดีไปทั้งหมด  และการพัฒนาทางเทคโนโลยีนั้นก็ยังสร้างปัญหาใหม่ๆให้กับคนเราอีกด้วย  ซึ่งแน่นอนว่า การพััฒนาทางเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตของคนเราเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น  แต่ทว่าบนโลกใบนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องที่สมบูรณ์แบบไปทั้งหมด  เมื่อเทคโนโลยีมีข้อดี  ก็มักจะมาพร้อมกับข้อเสียเสมอ  เห็นได้ชัดเจนจากการที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาไปอย่างเร็วมาก ซึ่งจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ควรจะช่วยให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นสะดวกขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงวัย แต่กลับมาสร้างปัญหาให้ผู้สูงวัยแทน  ฉะนั้นแล้ว การพัฒนาทางเทคโนโลยีมีประโยชน์มากก็จริง แต่ผลกระทบทางลบก็มีไม่น้อยเช่นกัน

แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตของจีน

ในบริบทของเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมของโลก  ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในระหว่างองค์กรด้วยกันเอง  เช่น Google  Microsoft  IBM และ Facebook เป็นต้น  โดยอาศัยความได้เปรียบของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบในด้านปัญญาประดิษฐ์   โดยบริษัทใหญ่ๆแต่ละบริษัทจะมีการเพิ่มการลงทุนในด้านของการวิจัยและพัฒนา  การสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพสูง  การสร้างห้องปฏิบัติการ ประกอบกับการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ  ในขณะเดียวกันก็ใช้ลักษณะการดูดซึมปัญญาประดิษฐ์ที่ยอดเยี่ยมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  โดยเป็นไปในลักษณะของการเข้าซื้อกิจการ  เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันโดยรวม  นอกจากนี้บริษัทใหญ่ๆแต่ละบริษัทยังมีการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม (Platform) ที่มาของแหล่งเทคโนโลยีและการสร้างระบบนิเวศน์ของตัวเองโดยรอบ   การขาดความยืดหยุ่นและนวัตกรรมใหม่ๆของงานในอนาคตก็จะถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์  ในอนาคตไม่ว่าจะเป็นงานที่ใช้พละกำลังแรงงานหรือว่าจะเป็นงานที่ใช้สมอง  ก็เพียงแค่เป็นงานที่มีความน่าเบื่อหน่าย  ไม่ต้องการอาชีพที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือความยืดหยุ่น ก็ล้วนถูกเอามาแทนที่ได้ทั้งนั้น  เพราะว่าความรู้ของงานเหล่านี้จะใช้ AI มาทดแทนได้ง่ายที่สุด  อย่างเช่น ในอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่ได้กำไรมาก เมื่อใช้ AI มาแทนที่งานนี้ก็มีความเป็นไปได้สูงที่กำไรจะยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม   อุตสาหกรรมดั้งเดิมจะพึ่งพาปัญญาประดิษฐ์  โดยอาศัยการนำเอารูปแบบธุรกิจใหม่และรูปแบบเชิงพาณิชย์มาใช้  ซึ่งในอุตสาหกรรมใหม่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการนำมาพัฒนาแบบก้าวกระโดด   อุตสาหกรรมดั้งเดิมมีใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การศึกษาทางการเกษตร การเงิน การคมนาคม การรักษาพยาบาล การนันทนาการและการจัดการทางสาธารณะ เป็นต้น  และจะมีการนำเอารูปแบบธุรกิจใหม่และรูปแบบเชิงพาณิชย์มาใช้อย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ รถยนต์ไร้คนขับ  VR ( virtual reality) [11]  และโดรน (Drone) [12]  เป็นต้น  ซึ่งการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของบริษัทจะขึ้นอยู่กับช่วงวงจรชีวิตของอุตสาหกรรม

ขณะที่กระแสของเทคโนโลยีทางด้าน AI ซึ่งกำลังมีบทบาทอยู่ในทั่วโลกนั้น จีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ  จีนกำลังดำเนินการในการสร้างและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์  ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิงของจีน เคยประกาศไว้ว่า จะสร้างจีนให้เป็นประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ให้ได้ในกลางศตวรรษที่ 21 ผ่านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยจีนตั้งเป้าจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของโลกให้ได้ภายในปี 2050   ปัจจุบันจึงมีการอัดฉีดงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศทั้งหมดให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทค สร้างห้องทดลองอวกาศเทียนกง ยานดำน้ำสำรวจทะเลลึก ผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ สร้างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Baidu, Alibaba และ Tencent ซึ่งเทียบได้กับ Google, eBay และ Facebook ของสหรัฐอเมริกา  ในการพัฒนานวัตกรรมของจีนนั้น ภาครัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เอกชนพัฒนานวัตกรรมเกิดขึ้นและมีผลทางเศรษฐกิจได้จริง ซึ่งรัฐบาลจีนมีแผนการสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างจริงจัง โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2017 รัฐบาลจีนได้ร่าง “แผนงานการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับยุคสมัยใหม่” ซึ่งเป็นแผนงานส่งเสริมการค้นคว้าเทคโนโลยี AI ครบทุกด้าน โดยอิงกับปัจจัยที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน แผนนี้มีเป้าหมายหลักคือการปั้นตลาดอุตสาหกรรม AI ให้มีมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030  แผนการพัฒนาเทคโนโลยี AI ยังเป็นหนึ่งในโครงการใหญ่ของจีนที่มีชื่อว่า “โครงการนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งปี 2030” ซึ่งโครงการนี้เน้นการพัฒนานวัตกรรมจาก Disruptive Tech [13] ทั้งหมด ทั้งยังเน้นการพัฒนาในระยะยาวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ภาครัฐยังประกาศแผนการร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนทั้ง 3 ราย โดยให้แต่ละรายพัฒนา AI สำหรับการใช้งานแต่ละด้าน ได้แก่ Baidu พัฒนา AI สำหรับยานยนต์ไร้คนขับ, Alibaba สำหรับ Smart City และ Tencent พัฒนา AI เพื่อระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Intelligent Healthcare) [14]  นอกจากนี้ในปี 2025 จีนจะทำให้ทั้งประเทศมี Road Map ที่ชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรมจีนในการครองโลกด้วยสินค้านวัตกรรมไฮเทค หรือที่เรียกว่า  “แผนพัฒนาเชิงรุกด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (Made in China 2025)”  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมภายใต้แนวคิดผลักดันการผลิตด้วยนวัตกรรมชั้นสูงที่มุ่งสร้างคุณภาพมากกว่าปริมาณ การผลิตที่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ เพื่อเป็นการลบภาพลักษณ์สินค้า  Made in China แบบคุณภาพต่ำอย่างที่เคยมีมาในอดีตของสินค้าจีน  การบ่มเพาะบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม และการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม [15]  โดยจีนตั้งเป้าจะครองตลาดใน 10 ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ หุ่นยนต์ AI , ชิป , คอมพิวเตอร์ , Cloud Service [16] , ท่าอากาศยาน เรือ รถไฟ , รถอัจฉริยะรักษ์โลก , พลังงานหมุนเวียน ,  เกษตรกรรม , วัสดุไฮเทค , ยาและเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น [17] 

สรุป

              ความก้าวหน้าและการพัฒนาของยุคเทคโนโลยี  ค่อยๆปรับปรุงสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของเรา  ทำให้คุณภาพชีวิตจะยิ่งอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆ  เป็นแรงผลักดันให้เราก้าวหน้าและนำพาความสะดวกสบายอย่างยิ่งใหญ่มาสู่พวกเรา  แต่ในขณะเดียวกันก็นำพาผลกระทบด้านลบอย่างมากมายมาให้ด้วยเช่นกัน  อย่างเช่น ปัญหาผู้สูงวัยตามเทคโนโลยีไม่ทัน ปัญหาสิ่งแวดล้อม  น้ำเสียที่ถูกปล่อยมาจากแม่น้ำเส้นหลัก  ส่งผลให้ต้องรับประทานอาหารทะเลที่ไม่มีความสดหลงเหลืออยู่แล้ว  หรือแม้แต่สูญเสียทรัพยากรทางน้ำที่มีค่าไปอย่างมาก  แต่กลับไม่ได้คิดถึงผลลัพท์ในภายหลัง และปัญหาอื่นๆ [18]  ดังนั้นจะต้องพัฒนาทางเทคโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  นำพาซึ่งประโยชน์มาให้  แต่ก็ไม่สามารถที่จะละเลยสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ขณะนี้ไปได้   หากลองมองย้อนกลับไปในยุค 1.0 2.0 3.0 และ 4.0 ที่ผ่านมานั้น เทคโนโลยียังไม่ได้มีบทบาทเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากนัก การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษต่างๆ จึงพบเห็นได้น้อยกว่าในปัจจุบัน

          ถึงอย่างไรจีนก็คงไม่ล้มเลิก “ แผนยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมไฮเทค เนื่องจากหัวใจหลักของเขาคือ ต้องการยกระดับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของประเทศ ไม่อย่างนั้นจะไปต่อได้ลำบาก ”   อีกทั้งจีนยังต้องเปลี่ยนโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจด้วย จากเดิมที่เคยเน้นการส่งออกก็ต้องมาเน้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น หรือจากเดิมที่เป็นลักษณะการส่งสินค้าราคาถูกออกไปต่างประเทศก็ต้องเปลี่ยนไปสู่การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าเก่า   ข้อมูลที่น่าสนใจจาก The Telegraph ระบุว่าปี 2017 ที่ผ่านมา มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนมีตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 4.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 32.9% ของ GDP ทั้งประเทศ ขณะที่บุคลากรที่ทำงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลก็มีจำนวน 171 ล้านคน นับเป็นสัดส่วน 22% ของการจ้างงานในประเทศ  สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นว่าจีนมีศักยภาพที่จะเติบโตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิทัลอีกมาก เหลือเพียงรอเวลาเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาวิ่งเข้าสู่เป้าหมาย Made in China 2025 ได้จริง [19]

หากมองย้อนอดีต พิจารณาปัจจุบัน จะเห็นถึงอนาคตของจีนว่า จีนทำอะไรก็ทำอย่างจริงจัง ทำอะไรก็ต้องยิ่งใหญ่เสมอ ดังนั้นเป้าประสงค์ของจีนในการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีก็ไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม [20]    ในอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้า  หุ่นยนต์อัจฉริยะอาจจะกลายมาเป็น “แม่บ้าน”  เทคโนโลยีไร้คนขับก็สามารถทำหน้าที่เป็นคนขับขณะเดินทาง  และเทคโนโลยีสแกนใบหน้าจะคอยมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ก็เป็นได้  ท้ายที่สุดแล้วการพัฒนาในเชิงลึกของปัญญาประดิษฐ์  จะช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น  และก็กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในอนาคต

(ที่มาภาพ : http://t11.baidu.com/it/u=2584435636,2601384684&fm=173&app=25&f=JPEG?w=580&h=258&s=3DB9489342E03113D42CD5A803006011)


รายการอ้างอิง

ยุคที่รุ่งเรือง (กว่าเดิม) ของ E-Commerce แดนมังกร (18 ตุลาคม 2561). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645783

เตรียมเข้าสู่สังคม  การอยู่อาศัยยุค 5.0 ( 11 มีนาคม 2562 ). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646777

ผลของการขยายตัวของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ สมองกลอัจฉริยะต่อระบบการผลิต เศรษฐกิจ-ตลาดแรงงาน. (27 สิงหาคม 2561). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก    https://www.prachachat.net/economy/news-210309

อาร์ม ตั้งนิรันดร. (2561). China 5.0 : สีจิ้นผิง  เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI . กรุงเทพฯ : บุ้คสเคป.

Big Data เปลี่ยนแปลงชีวิตคนจีนไปอย่างไร?. (2 มีนาคม 2562). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจากhttps://mgronline.com/china/detail/9620000020305

ทิศทางเศรษฐกิจจีน 2019 กับแรงสะเทือนต่อโลก. (2 มกราคม 2562). 362 Degree.com เวปไซต์สำนักข่าวออนไลน์. http://www.362degree.com/2019/01/02/ทิศทางเศรษฐกิจจีน-2019/

ผลกระทบของเทคโนโลยี. (12 กันยายน 2561). สืบค้นจาก  https://www.krui3.com/content/impact-of-technology/

ซินหัว เปิดตัวผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของโลก อ่านข่าวไม่มีเหนื่อย 24 ชม./วัน. (9 พฤศจิกายน 2561). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/1416976  ไทยรัฐออนไลน์  9 พ.ย. 2561

แพทย์แสดงการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีไร้สาย 5G. (4 มีนนาคม 2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก  https://www.thairath.co.th/content/1509820

ผู้สูงวัยกำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เมื่อเทคโนโลยีในจีนพัฒนาไม่หยุด. (11 มีนาคม 2562). Voice TV. สืบค้นจากhttps://voicetv.co.th/read/1y3RnDQLj

The Rise of AI in China เมื่อ AI Ecosystem ของจีนเบ่งบานในระดับโลก. (10 กรกฏาคม 2562). Digital Ventures, a subsidiary of The Siam Commercial Bank (SCB). สืบค้นจาก http://dv.co.th/blog-th/the-rise-ai-china/

Made in China 2025 : จีนกับแผนกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ผู้นำเทคโนโลยี. (6 มีนาคม 2562). Digital Ventures, a subsidiary of The Siam Commercial Bank (SCB). สืบค้นจาก  http://dv.co.th/blog-th/Made-in-China-2025/

科技发展对我们的生活带来的影响. (25 กรกฏาคม 2561). สืบค้นจาก https://baijiahao.baidu.com/s?id=1606949266693606953&wfr=spider&for=pc

ส่องยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของสีจิ้นผิง. (31 สิงหาคม 2561). เวปไซต์เดอะสแตนดาด สืบค้นจาก https://thestandard.co/made-in-china-2025/

จีนกับการท้าชิงเจ้าเทคโนโลยีของโลก จนสหรัฐฯ มองเป็นภัยคุกคาม. (27 ธันวาคม 2561). เวปไซต์เดอะสแตนดาด. สืบค้นจาก https://thestandard.co/cyber-threat-and-china-us-trade-war-in-2019/

จีนกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม. (9 เมษายน 2561). เวปไซต์ Pantip.com. สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/37548145


[1] ยุคที่รุ่งเรือง (กว่าเดิม) ของ E-Commerce แดนมังกร (18 ตุลาคม 2561). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645783

[2] เตรียมเข้าสู่สังคม  การอยู่อาศัยยุค 5.0 ( 11 มีนาคม 2562 ). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646777

[3] ผลของการขยายตัวของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ สมองกลอัจฉริยะต่อระบบการผลิต เศรษฐกิจ-ตลาดแรงงาน. (27 สิงหาคม 2561). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก    https://www.prachachat.net/economy/news-210309

[4] อาร์ม ตั้งนิรันดร. (2561). China 5.0 : สีจิ้นผิง  เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI . กรุงเทพฯ : บุ้คสเคป.

[5] Big Data เปลี่ยนแปลงชีวิตคนจีนไปอย่างไร?. (2 มีนาคม 2562). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจากhttps://mgronline.com/china/detail/9620000020305

[6] ทิศทางเศรษฐกิจจีน 2019 กับแรงสะเทือนต่อโลก. (2 มกราคม 2562). 362 Degree.com เวปไซต์สำนักข่าวออนไลน์. http://www.362degree.com/2019/01/02/ทิศทางเศรษฐกิจจีน-2019/

[7] ผลกระทบของเทคโนโลยี. (12 กันยายน 2561). สืบค้นจาก  https://www.krui3.com/content/impact-of-technology/

[8] ซินหัว เปิดตัวผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของโลก อ่านข่าวไม่มีเหนื่อย 24 ชม./วัน. (9 พฤศจิกายน 2561). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/1416976  ไทยรัฐออนไลน์  9 พ.ย. 2561

[9] แพทย์แสดงการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีไร้สาย 5G. (4 มีนนาคม 2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก  https://www.thairath.co.th/content/1509820

[10] ผู้สูงวัยกำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เมื่อเทคโนโลยีในจีนพัฒนาไม่หยุด. (11 มีนาคม 2562). Voice TV. สืบค้นจากhttps://voicetv.co.th/read/1y3RnDQLj

[11] ความเป็นจริงเสมือน หมายความว่า ทัศนียภาพรอบทิศทางที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ จำลองและถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ดั่งอยู่ในโลกเสมือนจริง การรับชมความเป็นจริงเสมือนจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับชมซึ่งรับสัญญาณมาจากคอมพิวเตอร์

[12] เครื่องบินขนาดเล็กบินได้โดยอัตโนมัติโดยมีการควบคุมจากมนุษย์

[13] การที่เรามีเทคโลยีใหม่ๆ มาทดแทนสิ่งเดิมที่มีอยู่  และส่งผลให้ผู้ใช้งานได้มีอะไรที่ดี  สะดวกสบายมากกว่าเดิม

[14] The Rise of AI in China เมื่อ AI Ecosystem ของจีนเบ่งบานในระดับโลก. (10 กรกฏาคม 2562). Digital Ventures, a subsidiary of The Siam Commercial Bank (SCB). สืบค้นจาก http://dv.co.th/blog-th/the-rise-ai-china/

[15] Made in China 2025 : จีนกับแผนกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ผู้นำเทคโนโลยี. (6 มีนาคม 2562). Digital Ventures, a subsidiary of The Siam Commercial Bank (SCB). สืบค้นจาก  http://dv.co.th/blog-th/Made-in-China-2025/

[16] เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไอที เช่น Server หรือโปรแกรมต่างๆ ที่เราไม่ต้องลงทุนซื้อเพียงเราจ่ายค่าบริการ  หรือบางรายอาจะให้ใช้ฟรี หากเราไม่ได้ใช้งานเชิงธุรกิจ เราก็สามารถใช้อุปกรณ์เหล่านั้นผ่านอินเตอร์เน็ตได้เลย

[17] ส่องยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของสีจิ้นผิง. (31 สิงหาคม 2561). เวปไซต์เดอะสแตนดาด สืบค้นจาก https://thestandard.co/made-in-china-2025/

[18] 科技发展对我们的生活带来的影响. (25 กรกฏาคม 2561). สืบค้นจาก https://baijiahao.baidu.com/s?id=1606949266693606953&wfr=spider&for=pc

[19] จีนกับการท้าชิงเจ้าเทคโนโลยีของโลก จนสหรัฐฯ มองเป็นภัยคุกคาม. (27 ธันวาคม 2561). เวปไซต์เดอะสแตนดาด. สืบค้นจาก https://thestandard.co/cyber-threat-and-china-us-trade-war-in-2019/

[20] จีนกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม. (9 เมษายน 2561). เวปไซต์ Pantip.com. สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/37548145


บทความล่าสุด

ชุมนุมฮ่องกงกับภาษาปริศนา
ชุมนุมฮ่องกงกับภาษาปริศนา

โดย ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ สถานการณ์การชุมนุมประท้วงของประชาชนคนฮ่องกงนั้นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องด้วยการชุมนุมอันยืดเยื้อและข่าวลือต่างๆ ที่มีมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้การชุมนุมนี้สร้างผลกระทบในวงกว้าง สถานการณ์การชุมนุมนี้มีสาเหตุมาจากการต่อต้านร่างกฏหมายส่งตัวผ

ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ
2563
กระแสเอเชีย
ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย
ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย

โดย ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ Di Bawah Lindungan Ka’bah หรือ ภายใต้การปกป้องของกะอ์บะฮ์ เป็นนวนิยายของ ศาสตราจารย์ ดร. ฮัจยี อับดุล มาลิก บิน ดร. ซายิก ฮัจยี อับดุล คารีม อัมรุลลา หรือ ฮามก้า (Hamka) นักคิดนักเขียนชาวอินโดนีเซียเชื้อสายมินังกะเบา จากเกาะสุมาตรา ที่ชาวอินโดนีเซียเคารพรั

ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ
2563
กระแสเอเชีย
ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่ง “มิตรภาพใหม่”
ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่ง “มิตรภาพใหม่”

โดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2020 ว่าตนเองได้เดินทางเยือนประเทศบาห์เร

ดร.ศราวุฒิ อารีย์
2563
กระแสเอเชีย
Nyida Parik: การเต้นต้อนรับขบวนเจ้าสาวของชาวกาโล
Nyida Parik: การเต้นต้อนรับขบวนเจ้าสาวของชาวกาโล

โดย ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย ชายชาวกาโลกำลังฝึกซ้อมการแสดง Nyida Parik ที่ลานหญ้าของหมู่บ้าน ภาพถ่ายโดย ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย เข็มนาฬิกาแสดงเวลาตีห้าเศษ แต่แสงอาทิตย์ได้ส่องเหนือหุบเขาบาซาร์ (Basar) จนสว่างไสวแล้ว เช้าวันนี้ผู้เขียนได้รับการชักชวนให้มาชมการซ้อมเต้น Nyida Parik

ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย
2563
กระแสเอเชีย
“มาสคอต” คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตอนที่ 2 : มาสคอตกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม)
“มาสคอต” คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตอนที่ 2 : มาสคอตกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม)

โดย กฤษบดินทร์ วงค์คำ (ตอนที่ 2 : มาสคอตกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการพยายามที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจไทย 4.0 โดยมีมาตรการส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้เกิดการสร้างระบบเศรษฐกิจกระแสใหม่ (New E

กฤษบดินทร์ วงค์คำ
2563
กระแสเอเชีย