Research

Home / Research

การสำรวจลักษณะการจ้างงานในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลาทูน่า) ของประเทศไทย

วัตถุประสงค์

จากการที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่กลุ่มบัญชี Tier 2 (watch list) ในรายงานการค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons
Report : TIPs Report) ประจำปี 2556 โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยภาค
ประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังถูกกล่าวหาเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติไม่ว่าเรื่องการใช้
แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสินค้าประมง และอุตสาหกรรม
ประมงต่อเนื่องเป็นอย่างมาก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปได้พิจารณาเห็นความสำคัญและตระหนักดีว่า แรงงานเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์
ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ การประกาศนโยบายด้านแรงงานของสมาคมฯเพื่อให้สมาชิกได้ให้ความสำคัญ และ
ร่วมมือกันให้มีการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานทำงานอย่าง
มีคุณค่า และมีความสุข อันจะส่งผลดีทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ สร้างคุณค่าของงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต และ
ศักดิ์ศรีของลูกจ้าง ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศชาติ
ในการให้ความสำคัญกับเรี่องนี้สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า จึงได้ขอให้ศูนย์วิจัย
การย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง“การสำรวจ
ลักษณะการจ้างงานแรงงานย้ายถิ่นในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลา
ทูน่า) ของประเทศไทย”โดยประสงค์ให้ งานวิจัยด้านแรงงานจะสะท้อนภาพข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และแท้จริง
ของแรงงานที่ทำงานในโรงงานผลิตปลาทูน่า และเชื่อว่าผลของรายงานนี้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่า ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก
แรงงานบังคับ และ การค้ามนุษย์ใดๆ จะส่งผลให้บรรดานานาประเทศ ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงของแรงงานข้ามชาติ
ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานผลิตปลาทูน่าต่างๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
ท้ายนี้ สมาคมฯ ใคร่ขอขอบคุณศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ได้ทำการศึกษาวิจัย อย่างเที่ยงตรง เยี่ยงมืออาชีพ ตลอดจนบริษัทผู้ผลิตปลาทูน่าหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่ได้ให้ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยทำให้รายงานฉบับนี้ได้บรรลุผลสำเร็จ
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
26 พฤศจิกายน 2556

บทคัดย่อ

บทสรุปประเด็นสำคัญ
ตอนที่หนึ่ง
ความเป็นมาของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา
ประเทศไทยได้ถูกพาดพิงถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงานเด็กผิดกฎหมายและการบังคับใช้
แรงงานด้านประมงและต่อเนื่องประมงทะเลตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดังที่เห็นจากการนำเสนอของรายงานระหว่าง
ประเทศฉบับต่าง ๆ อาทิเช่น รายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์
(TIPS Report) รายงานของผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และจากรายงาน
FINNWATCH เป็นต้น โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยถูกจับตามองในเรื่องของแรงงาน
ประมงและผลผลิตที่ได้จากการประมงทำให้เกิดผลกระทบในด้านการดำเนินธุรกิจการค้าที่เกี่ยวกับการประมงทั้ง
ในระดับประเทศและระหว่างประเทศประเด็นเรื่องการขาดแคลนแรงงานด้านประมงและประเด็นการปฏิบัติต่อแรงงาน โดยเฉพาะแรงงาน
ย้ายถิ่นในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยนั้นนับว่าเป็นประเด็นที่สำคัญและถูกจับตามองอย่างต่อเนื่องจากประชาคมโลก โดยเฉพาะเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับลักษณะการจ้างงาน โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหางาน

การสำรวจลักษณะการจ้างงานแรงงานย้ายถิ่นในกิจการต่อเนื่องประมงทะเล (ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภาคประมงทะเล-ปลาทูน่า) ของประเทศไทย
การเก็บรักษาเอกสารประจำตัวของแรงงาน การดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับสัญญาจ้าง การรับค่าจ้าง การปฏิบัติ
ต่อแรงงาน สภาพการทำงาน โดยรวมถึงเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้ง
สิทธิของแรงงานและการร้องเรียน โดยครอบคลุมถึงการปฏิบัติบางประการที่อาจถูกมองว่าเป็นการเข้าข่ายแรงงาน
บังคับและการค้ามนุษย์ในสายตาของนานาชาติที่ำคัญ ในปัจจุบันขณะที่ตลาดโลกมีการแข่งขันสูง ประเด็นเรื่องการปฏิบัติ
ต่อแรงงานย้ายถิ่นในภาคธุรกิจประมง อาจถูกนำมาพิจารณาเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมผู้ผลิต
อาหารสำเร็จรูปและอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และอาจนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับประเด็นการค้าระหว่าง
ประเทศ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและภาพลักษณ์ของสินค้าไทยแล้ว ยังจะกระทบ
ต่อการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของประเทศไทยไปยังตลาดสำคัญๆของโลกอีกด้วย
การแข่งขันในเวทีตลาดโลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก กฎระเบียบด้านการค้าต่าง ๆ เปลี่ยน
แปลงจากการมุ่งเน้นภาษี มาเป็นการสร้างมาตรฐานอาหารปลอดภัยและการให้ความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึง
ตัวแรงงาน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นรูปแบบของการกีดกันทางการค้ารูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาในอีกมุมมอง
ด้านหนึ่ง ก็สามารถเล็งเห็นได้ว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดมีการพัฒนาศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการเช่นกัน
ดังนั้นหากกล่าวถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ก็คงต้องควรพิจารณาไปในทิศทางที่สอดคล้อง
ต่อมาตรฐานแรงงานและมาตรการทางการค้าต่างๆ ที่มีอยู่หรือที่กำลังจะออกมาในอนาคต
ในด้านเทคโนโลยีการผลิตและแรงงาน ผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์ปัญหาทางด้านการขาดแคลน
แรงงาน รวมถึงต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต ดังนั้นการที่มีต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น
ก็ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานด้วย จึงสามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้นกว่า
ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสามารถช่วยตอบสนองความต้องการทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างได้อย่างเหมาะสม
ด้านแรงงานพื้นฐานหรือแรงงานไร้ฝีมือ ในปัจจุบันมีการขาดแคลนสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหาร ภาครัฐ
ได้มีการผ่อนผันและอนุญาตให้มีการใช้แรงงานย้ายถิ่นมากขึ้นกว่าในอดีต และได้มีการออกมาตรการควบคุมที่
ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนับว่าช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานให้กับผู้ประกอบการลงได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม
มาตรการการควบคุมบางอย่างยังมีช่องว่างและเป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติ และควรที่ต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้อง
กับความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ภายใต้ความพึงพอใจของทุกฝ่าย
จากข้อมูลของกลุ่มเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN: Migrant Worker Rights Network) และสมาพันธ์
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) (22 พฤษภาคม 2556) ระบุว่า ประเทศไทยมีแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อน
บ้านของไทย ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว คิดเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเฉพาะ
ในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น แปรรูปอาหารทะเล เกษตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม ก่อสร้างและการ
ดูแลรับใช้ในบ้าน แรงงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงาน ประสบสภาพการทำงานที่เลวร้าย รวมทั้งการ
จ่ายค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่ตกลงและไม่ชำระเงินค่าจ้าง มีการละเมิดกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ มีการให้ทำงานล่วงเวลาเป็น
เวลานาน การทำงานที่เป็นอันตรายและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังการปฏิเสธเสรีภาพใน
การสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง ที่เลวร้ายกว่านั้นมีบางรายถูกบังคับให้ทำงานเพื่อปลดหนี้ การบังคับ
ใช้แรงงานและการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมเหล่านี้


Details

List of researchers

รัชดา ไชยคุปต์, วรัญญา จิตรผ่อง, สมาน เหล่าดำรงชัย,ธัญญาภรณ์ วงศ์บุญชัยนันท์, พศกร โยธินนีรนาท, ผจงรักษ์ ศรีไชยวงศ์

Release date

1 June 2014

Contact info
Download sample research