Article from Mekong Studies Center

Background of Mekong Studies Center

Mekong Studies Center was established under the Institute of Asian Studies (IAS) of Chulalongkorn University with a grant from the Ratchadapisak Sompoch fund in 2002 in order to conduct a research on the countries of the Mekong sub-region and to disseminate the acquired knowledge to the general public. In the early period, Mekong Studies Center was a research unit of IAS and was established as a Center of Excellence in December in 2009.

Mekong Studies Center aims to be a leading research center in Greater Mekong Sub-Region to conduct researches and studies and disseminate knowledge about countries in the Greater Mekong Sub-Region (GMS), namely Myanmar, Thailand, Lao PDR, Cambodia, Vietnam and Southern China.

Mekong Studies Center focuses on using the Area Studies methodology. Researchers conduct field work and have awareness, insight information and in-depth understanding on different issues in Greater Mekong Sub-region. Mekong Studies Center attempts to explain changes from the internal point of view of each country in order to thoroughly and accurately understand the changes.

In addition, changes are also viewed in the sub-regional aspect. All the countries in the Greater Mekong Sub-Region are geographically, socially and culturally close and they share common and similar experience in their development. Their connectivity, including physical, institutional and people-to-people connectivity, has also increased significantly in these days. All of the above factors are contributing to the increase in the sub-regional integration and creation of mutual benefits.

Mekong Studies Center is committed to provide academic services and knowledge transfer. Researchers have been invited to deliver lectures, organised seminars in order to raise awareness and increase stakeholders’ understanding on issues related to Greater Mekong Sub-region. The Center also applies knowledge through organising research forums, giving consultation to the public and private sectors as well as the general public, and participating in the establishment of key national policies in order to utilise the acquired knowledge and engage with diversified stakeholders. 

SCOPE OF WORK

Mekong Studies Center is part of the Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. Its aim is to conduct researches and disseminate knowledge about countries in the Greater Mekong Sub-region (GMS), namely Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam and Southern China. The center focuses on using the area studies method, which tries to explain changes from the internal point of view of each country in order to thoroughly and accurately understand the changes.

In addition, changes are also viewed in the sub-regional aspect. All the countries in the GMS are also viewed in the sub-regional aspect. All the countries in the GMS are geographically, socially and culturally close and they share common and similar experience in their development. Their connectivity, including physical connectivity, institutional connectivity and people-to -people connectivity, has also increased significantly in these days. All of the above factors are contributing to increase sub-regional integration and more creation of mutual benefits.

The center has pushed to apply knowledge gained from these studies in every part of society through its academic services, such as organizing academic seminars, giving consultation to the public and private sector as well as the general public, and participating in the establishment of key national policies in order to gain actual benefits from such knowledge. 

OBJECTTIVES

1) To conduct academic studies on topics related to the Greater Mekong Sub-region, which is evolving into part of the ASEAN Community.

2) To provide a source of reference, give consultation and build understanding for the public and private sectors as well as the general public on topics related to the Greater Mekong Subregion.

3) To develop a network of academic cooperation on the national and international levels

SERVICES

1) Being a consultant for private and government sector.

2) Giving training and delivering lectures about GMS countries.

3) Conference, seminar

การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018

โดย วินิสสา อุชชิน

การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018


วินิสสา อุชชิน
นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วเมื่อปี 2013 พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodia People’s Party: CPP) ซึ่งสมเด็จฮุน เซน เป็นประธานพรรค ชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในรัฐสภา 68 ที่นั่ง ลดลงถึง 22 ที่นั่งจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2008 ในขณะที่พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party: CNRP) ภายใต้การนำของนายสม รังสี ได้ที่นั่งในรัฐสภา 55 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นถึง 26 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งในปี 2008 สะท้อนให้เห็นว่าพรรคประชาชนกัมพูชาและตัวของท่านสมเด็จฮุน เซนนั้นได้เสื่อมความนิยมลงอย่างมาก

การเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชาครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม 2018 สมเด็จฮุน เซน ได้มีการวางกลยุทธ์เพื่อให้พรรคประชาชนกัมพูชาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในภาวะที่คะแนนนิยมถดถอยลง โดยกลยุทธ์ที่สมเด็จฮุน เซน นำมาใช้ มีทั้งการใช้พระเดช (hard power) และพระคุณ (soft power)

การใช้พระเดช (hard power) นั้น หลังจากเลือกตั้งในปี 2013 สมเด็จฮุน เซน ได้ใช้กฎหมายและใช้กำลังเข้าจับกุมฝ่ายตรงข้าม โดยในต้นปี 2014 ได้มีการใช้กำลังตำรวจเข้าสลายการชุมนุมประท้วงที่ต้องการให้สมเด็จฮุน เซน ลาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการเข้าสลายการชุมนุมของตำรวจส่งผลให้มีผู้ประท้วงถูกยิงเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 26 คน และถูกจับกุมตัวอีก 11 คน 1

ปี 2015 ศาลกรุงพนมเปญ มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม และนำตัวสม รังสี รับโทษจำคุก 2 ปี จากความผิดฐานหมิ่นประมาท กล่าวหาว่า นายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเป็นอดีตสมาชิกเขมรแดง ส่งผลให้นายสม รังสี หัวหน้าพรรค CNRP ในขณะนั้นต้องลี้ภัยนอกประเทศ ในปี 2015 รัฐสภาของกัมพูชาได้ผ่านกฎหมาย LANGO: Law on Association and Non-Government Organization กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชนหรือ เอ็นจีโอ ต้องจดทะเบียนและต้องส่งรายงานการเงินให้กับรัฐบาล ส่งผลให้เอ็นจีโอที่ไม่ได้ลงทะเบียนหรือไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะจากรัฐบาลต้องปิดตัวลง

ปี 2017 เป็นปีที่มีการเคลื่อนไหวใช้อำนาจทางกฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรของกัมพูชา มีมติให้ผ่านร่างแก้ไขกฎหมายให้สิทธิรัฐบาลที่จะขอให้ศาลออกคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการปลุกปั่น ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก หรือดำเนินกิจกรรมอื่นใดที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ โดยนักการเมืองที่ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดตามกรณีดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิ์การลงสมัครรับเลือกตั้ง และอาจทำให้พรรคการเมืองต้นสังกัดถูกยุบได้ 3 กันยายน 2017 นายเขม สุกขา หัวหน้าพรรค CNRP ถูกจับด้วยข้อกล่าวหาทรยศต่อชาติ จากการสมคบคิดต่างชาติโค่นล้มรัฐบาล 16 พฤศจิกายน 2017 ศาลฎีกาของกัมพูชาตัดสินยุบพรรค CNRP นอกจากนี้สื่อที่เสนอข่าวไม่เข้าข้างรัฐบาลกัมพูชาอย่าง The Cambodia Daily ได้ถูกสั่งปิดโดยข้อหาไม่ได้จ่ายภาษี โดยมีมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายกว่า 6.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว ๆ 180 ล้านบาท Radio Free Asia (RFA) และ Voice of Democracy และ Voice of America ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตแพร่ภาพกระจายเสียงด้วยเหตุผลด้านภาษีและสถานการณ์จดทะเบียน

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018 รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี สำหรับผู้กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ 2 กฎหมายได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้าม โดยนายสม รังสี อดีตหัวหน้าพรรค CNRP ได้ถูกหมายเรียกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 3

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า สมเด็จฮุน เซน ได้ใช้พระเดชในการกำจัดฝ่ายตรงข้าม และข่มขู่ให้เกิดความเกรงกลัวที่จะต่อต้านสมเด็จฮุน เซน และพรรค CPP

นอกจากการใช้พระเดชแล้ว สมเด็จฮุน เซน ยังใช้พระคุณ (soft power) ในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสมเด็จฮุน เซนเสียใหม่ โดยในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2013 สมเด็จฮุน เซน มีภาพลักษณ์เป็นผู้นำประเทศที่มากด้วยบารมี มีความสูงส่งกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ค่อยมีภาพที่แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดประชาชน เห็นได้จากสมเด็จฮุน เซน ไม่ได้ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและแรงงานบ่อยเท่าไรนัก ในการรณรงค์เลือกตั้งจะไม่ค่อยเห็นภาพ สมเด็จฮุน เซน ขึ้นรถขบวนหาเสียง แต่หลังจากการเลือกตั้งปี 2013 สมเด็จฮุน เซน ได้ไปพบปะชาวบ้านบ่อยขึ้น มีการถ่ายรูปเซลฟี่กับประชาชนและโพสต์ลงเฟสบุ๊คของสมเด็จฮุนเซน และที่สร้างความประหลาดใจให้กับชาวกัมพูชาคือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลของกัมพูชาในปี 2017 สมเด็จฮุน เซน ได้มาปราศรัยและได้ขึ้นรถบรรทุกนำขบวนยาว 9 กิโลเมตร ผ่านถนนสายต่างๆ ในพนมเปญเพื่อช่วยลูกพรรคหาเสียง 4



สมเด็จฮุน เซน สมเด็จฮุน เซน ได้มาปราศรัยและร่วมขบวนหาเสียงเลือกตั้งในพนมเปญ
ในการเลือกตั้งระดับตำบล ปี 2017
แหล่งที่มา

– Phnom Penh Post: https://www.phnompenhpost.com/supplements/war-over-political-battle-remains-laws-are-effective-weapon
– Agencia EFE: https://www.efe.com/efe/english/contact/50000336
 

สมเด็จฮุน เซน ได้พบปะแรงงานบ่อยมากขึ้น และในการพบปะแต่ละครั้งจะมีการปรับปรุงสวัสดิการให้กับแรงงาน หรือมอบเงินช่วยเหลือให้แก่แรงงาน เช่น ในวันที่ 23 สิงหาคม 2017 สมเด็จฮุน เซนได้มาพบแรงงานที่เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญโดยมีแรงงาน 16,000 คนให้การต้อนรับ สมเด็จฮุน เซน ได้ใช้โอกาสนี้กล่าวกับแรงงานถึงสวัสดิการต่างๆ ที่จะมอบให้แรงงาน เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 168 เหรียญสหรัฐในปี 2018 การให้ใช้บริการคมนาคมสาธารณะฟรี การให้บริการสาธารณสุขฟรีที่จะเริ่มในเดือนมกราคม 2018 สมเด็จฮุน เซน ยังได้กล่าวว่าเขาจะเยี่ยมเยือนแรงงานสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อที่จะรับทราบสภาพความเป็นอยู่และปัญหาของนายจ้างและลูกจ้าง สมเด็จฮุน เซน ยังได้กล่าวว่าเขาได้ชักชวนนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนที่กัมพูชามากขึ้น 5




สมเด็จฮุน เซน ได้พบปะแรงงานที่เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ ในวันที่ 23 สิงหาคม 2017
แหล่งที่มา

– Phnom Penh Post: https://www.phnompenhpost.com/national/pm-pledges-worker-benefits
– Nikkei Asia Review: https://asia.nikkei.com/Spotlight/Asia-Insight/Minimum-wage-politicking-stings-employers-in-Southeast-Asia
 

กิจกรรมการพบปะระหว่าง สมเด็จฮุน เซน กับประชาชน รวมถึงการให้สวัสดิการและความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งทีวี วิทยุ และสื่อออนไลน์ ได้แก่ เฟสบุ๊ค ในการนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ว่า สมเด็จฮุน เซน เป็นผู้นำที่ใจดี มีความใกล้ชิดและเป็นกันเองกับชาวบ้าน เป็นคุณลุงที่ใจดีและพร้อมจะดูแลและทำทุกอย่างเพื่อหลานๆ ชาวกัมพูชา

นอกเหนือจากการใช้พระเดชและพระคุณแล้ว สมเด็จฮุน เซน ได้ให้ลูก ๆ ของตนเข้ามามีบทบาททางการเมืองและความมั่นคงมากขึ้น โดยพลเอกดร.ฮุน มาแน็ต ลูกชายคนโต ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการองครักษ์ ผู้บัญชาการกองกำลังพิเศษต่อต้านการก่อการร้ายและรองประธานเสนาธิการร่วมในกองทัพกัมพูชา

พลตรีฮุน มานิต ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม รองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการหยุดงานประท้วงและการชุมนุมประท้วงทุกรูปแบบ รองเลขาธิการสำนักแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินแห่งชาติ

ฮุน มานี ลูกชายคนสุดท้องได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำปงสะปือ และเป็นประธาน The Union of Youth Federations of Cambodia และเป็นประธานกลุ่มที่ปรึกษาเยาวชนเอเชีย

ฮุน มานา ลูกสาวคนโต เป็นประธานบริษัทบายนทีวี ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับพรรค CPP และคอยสนับสนุนงานของพรรค อาทิ สมเด็จฮุน เซน ต้องการที่จะพัฒนาถนน Anlong Veng ไปยังปราสาทเขาพระวิหาร สถานีวิทยุโทรทัศท์บายนได้ให้การสนับสนุนในการสร้างถนนดังกล่าว นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการเผชิญหน้าระหว่างทหารไทยกับกัมพูชาที่เขาพระวิหาร สถานีวิทยุบายนได้จัดรายการพิเศษเพื่อระดมความช่วยเหลือไปยังทหารที่อยู่แนวหน้า การจัดรายการพิเศษในครั้งนั้นได้เงินจำนวน 1ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ พลตำรวจตรีฑี วิ้จเจีย ซึ่งแต่งงานกับ ฮุน มานา ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจะลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสวายเรียงในการเลือกตั้งปี 2018 นี้ด้วย

จากการใช้พระเดช (hard power) และพระคุณ (soft power) และการผลักดันให้ลูก ๆ เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองและความมั่นคง ทำให้สามารถกล่าวได้ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชาในปี 2018 พรรคCPP จะชนะการเลือกตั้งและสมเด็จฮุน เซน จะยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาต่อไป สิ่งที่จับตามองคือ การจัดการกับกลุ่มผู้ที่ไม่พอใจผลการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นและการกระจายอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างลูก ๆ ของสมเด็จฮุน เซน และสมาชิกในพรรค CPP ลูก ๆ ของสมเด็จฮุน เซน จะมีความรักสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและสามารถสร้างบารมีให้คนในพรรค CPP ยอมรับได้หรือไม่ นี้เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป


Latest articles

ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5
ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5

โดย ปภังกร เสลาคุณ ผู้ช่วยนักวิจัย ประจำศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5 ในช่วงเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ ได้มากเท่ากับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ

ปภังกร เสลาคุณ
2019
thaiworld

Institution location (Mekong Studies Center)

Institute of Asian Studies Chulalongkorn University

3th Floor, Prajadhipok-Rambhai Barni Building, Phyathai Road, Bangkok 10330, THAILAND

02-218-7468

02-218-7459