Article from South Asian Studies Center

South Asian Studies Center

South Asian Studies Center is a research unit for South Asian Studies and funded by Ratchadaphiseksomphot Endowment Fund, Chulalongkorn University. The center established in June 2017 under the Institute of Asian Studies. The center conducts research on South Asian Studies Countries related to social, economic, cultural and political issues. South Asian Countries have diverse in term of culture, religions, languages. The main purposes of center are development, initiating and disseminating the knowledge in South Asian to the publicity, creating quality of Thai researchers and expanding the academic network within Thailand and global. Therefore, for developing the relationship between Thailand and the South Asian countries is necessary to understand the context of this region through conducted research in deeply analysis and systematic as a main mission of the South Asian Sian Studies Center of Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University.

Objective:

  1. To be a research center, producing and disseminating knowledge about South Asian Region to publicity in national and global level.
  2. To create and develop the quality of Thai researcher in the field of South Asian Region and to building research networks and academic cooperation between researchers and research institutes within the country and global.
  3. To be a national information center that able to apply policy planning, promoting the knowledge about South Asian region.
  4. To create an understanding and good relationship between nations.

ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู: ครูของลูก บรมครูของโลก

The public intellectuals of the Indian Sub-Continent have a great influence on young people’s perceptions. Especially the driving system of politics and government They are regarded as “The precursor” through writings and the struggle for independence from the British colonies Therefore not surprising that their work is powerful to the Indian society and the world society

โดย ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู: ครูของลูก บรมครูของโลก

“To read history is good, but even more interesting and fascinating is to help in making history.”

ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู ใน “Glimpses of World History”

บทนำ

ปัญญาชนสาธารณะแห่งอนุทวีปอินเดีย (Indian Sub-Continent) นั้นมีอิทธิพลทางด้านความคิดอ่านของคนหนุ่มสาวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการขับเคลื่อนระบบการเมืองการปกครอง พวกเขาได้รับการยกย่องให้เป็น “ปูชนียบุคคล” ผ่านข้อเขียนและการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอาณานิคมอังกฤษ จึงไม่แปลกที่ชิ้นงานของพวกเขาทรงพลังต่อสังคมอินเดียและสังคมโลก

ประเทศอินเดียก็ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอนุทวีป และเป็นแหล่งที่มาของปัญญาชนสาธารณะ ผู้มีบทบาทค่อนข้างมากในการต่อสู้กับอาณานิคมอังกฤษ หนึ่งในนั้นคือ ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู ผู้สามารถกล่อมเกลาคนหนุ่มสาวของประเทศแถบนี้ได้อย่างทรงพลัง อย่างน้อยก็“อิทธิรา เนห์รู คานธี” (Indira Nehru Gandhi) ลูกสาวของตนเอง

ชะตากรรมใต้เงาอาณานิคม

เยาวชนรุ่นหลังเข้าใจประวัติศาสตร์อินเดียผ่านงานเขียน ในสถานะที่บรรพบุรุษของพวกเขาเคยถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ข้อเขียนส่วนใหญ่ในประเทศจึงเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เหล่านี้ จึงกลายเป็นเครื่องเตือนใจ โดยเฉพาะการปฏิวัติของประชาชนชาวอินเดียในปี 1857 และการได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1947 สิ่งนี้จึงมีพลังในการตอกย้ำ “ความเป็นชาตินิยม” (Nationalism) ให้กับพลเมืองอินเดีย ปัญญาชนสาธารณะผู้นี้จึงเป็น “วีรบุรุษและผู้นำทางจิตวิญญาณของพวกเขาโดยแท้จริง”

ปัญญาชนสาธารณะของอินเดีย: ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู

ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู หรือ “นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย” ทายาททางการเมืองและผู้สานต่ออุดมการณ์ต่อสู้เพื่อเอกราชอินเดียจากผู้เป็นพ่อ “โมติลาล เนห์รู” (Motilal Nehru) ในปี 1912 เนห์รูจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) และแต่งงานกับกมลา เนห์รู (Kamala Nehru) ในปี 1916 ซึ่งทั้งสองมีผู้สืบสกุลร่วมกันคือ อินทิรา ปริยาดาร์ชินี (Indira Priyadarshini)

เนห์รูได้ทิ้งงานเขียนสำคัญไว้เพียง 3 เล่มหลัก ๆ อย่างเช่น An Autobiography, Glimpses of World History และ The Discovery of India และชิ้นงานเหล่านี้ได้กลายเป็น “คู่มือทางการเมือง” ที่ทรงอิทธิพลทางด้านความคิดในการสร้างชาติให้กับคนรุ่นใหม่

ยาวาฮาร์ลาล เนห์รูกับของขวัญวันคล้ายวันเกิด

ตั้งแต่ปี 1930 เนห์รูถูกกักขังในฐานะ “นักโทษทางการเมือง” ณ เรือนจำกลางไนย์นี (Central Prison, Naini) ณ สถานที่แห่งนี้ ท่านได้ถอดบทเรียนการต่อสู้ เขียนจดหมายและบันทึกข้อคิดต่าง ๆ ท่านได้เขียน “Glimpses of World History” (ชำเลืองประวัติศาสตร์โลก) เพื่อเป็นจดหมายปลุกสำนึกอินทิรา คานธี เด็กน้อยวัย 13 ให้ระถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการเรียกร้องเอกราชอินเดีย


ภาพที่ 1: หนังสือของ ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู “Glimpses of World History” (ชำเลืองประวัติศาสตร์โลก)
ที่มา: httpswww.alamy.comstock-photo-glimpses-of-world-history-by-jawarhalal-nehru-48199767.html (Accessed 8 March 2019)
เนห์รู อวยพรวันเกิดของลูกสาวผ่านจดหมาย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 1930 (ตามปฏิทิน Gregorian ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน) ระบุว่า

“แด่…อินทิรา ปริยาดาร์ชินี (Indira Priyadarshini) เนื่องในวันคล้ายวันเกิดอายุ 13 ปีของเธอ”

“ในวันเกิดของเธอ พ่อไม่สามารถส่งอะไรให้กับเธอได้เลย เพราะในเรือนจำกลางเมืองไนย์นีนั้น ไม่มีวัตถุชนิดใดที่สามารถเล็ดลอดออกไปได้ ทว่าสิ่งหนึ่งที่กำแพงหนาของเรือนจำไม่สามารถกักขังได้นั่นก็คือ “วิถีคิดและจิตวิญญาณในการต่อสู้ที่พ่อมี”

““รู้ไหมคนหนุ่มสาวในประวัติศาสตร์ชาติเราต่างอุทิศตนให้กับการต่อสู้เพื่อเอกราช พวกเขามีอิทธิพลต่อเราในฐานะวีรบุรุษ พวกเขาคือ ผู้นำคนสำคัญของโลกที่คอยสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคม

““โอ้สาวน้อย จำได้ไหมในปี 1917 ขณะเธอลืมตาดูโลก ช่วงนั้นเป็นปีที่ผู้นำคนสำคัญของโลกได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความห่วงใยบ้านเมือง ผู้นำเหล่านั้นได้ปลุกผู้คนให้ลุกขึ้นมาเขียนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของตนเอง ความรู้สึกเหล่านั้นไม่เคยหายไปจากหัวใจของเรา

“ในช่วงนั้น ผู้นำคนสำคัญอย่างเลนิน (Lenin) ได้เริ่มออกมาเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของรัสเซีย สำหรับประเทศอินเดียของเรา บาบูจิ (มหาตามะ คานธี) ได้ถูกคุมขังในเรือนจำ ทว่าคำสอนของท่านมีพลังในการสะกดจิตและควบคุมหัวใจของผู้คนนับล้าน วีรบุรุษ สตรีและเด็ก ๆ ต่างก้าวออกมาสานต่อภารกิจในฐานะ “นายทหารปฏิวัติเพื่อเอกราชอินเดีย” จนวันนี้ เขาทั้งสองได้กลายเป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญของประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าว

“พ่อจะบอกเธออย่างหนึ่งว่า “หากเธอเป็นทหารปฏิวัติของกองทัพอินเดีย” เธอก็จะเป็นผู้รักษาเกียรติยศของประเทศเรา เธอจงหาญกล้าที่จะออกมาต่อสู้พร้อมพี่น้องในชาติของเธอ แล้วเธอกลายเป็นเด็กน้อยที่โชคดี เพราะเธอคือส่วนหนึ่งของเรา เธอคือพยานคนสำคัญที่เติบโตมาท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับชาติของเรา เธอจะเป็นเด็กหญิงที่ทำให้แม่ของเธอมีความสุขมากที่สุด พ่อหวังว่าลูกสาวของพ่อจะโตขึ้นท่ามกลางกองกำลังทหารปลดแอกแห่งชาติของเรา” (Jawaharlal Nehru, 2004)

นี่คือ ของขวัญทางความคิดชิ้นสำคัญที่เนห์รูให้กับลูกสาวของตนในวันคล้ายวันเกิดเพื่อปลุกให้เธอตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศอินเดียในช่วงเวลานั้น การส่งต่อทางความคิดในลักษณะดังกล่าวถือเป็นฐานคิดที่สำคัญสำหรับอิทธิรา คานธีในการทำงานเพื่อสังคม และเป็นเบ้าหลอมชิ้นสำคัญให้เธอก้าวไปสู่ “นายกรัฐมนตรี” ของอินเดียในเวลาต่อมา


รูปที่ 2: ยาวาฮาร์ลาล เนห์รู (ซ้าย)และอินทิรา คานธี (ขวา)
ที่มา: httpspostcard.newswp-contentuploads201710jawharlal-nehru-indira-gandhi.png (Accessed 8 March 2019)
ยาวาฮาร์ลาล เนห์รูกับของขวัญปีใหม่

เนห์รูได้ปลุกสำนึกทหารตัวน้อยของตนด้วยจดหมาย “ของขวัญวันปีใหม่ (A New Year’s Gift) 1931”

“การอ่านประวัติศาสตร์นั้นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่สำคัญกว่านั้นก็คือ เธอได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่น่ายกย่องที่สุดคือ ประวัติศาสตร์ในการสร้างชาติของเรา ฉันไม่ชอบที่จะให้คนหนุ่มสาวศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะเธอจะไม่มีวันเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้ หากเธอไม่เข้าใจประวัติศาสตร์โลก

เธอจงจำไว้ว่า ผู้คนบนโลกนี้แตกต่างกันแค่เพียงนิดเดียว ซึ่งไม่ยากที่เธอจะจินตนาการ แผนที่และภูมิศาสตร์ได้ฉายให้เราเห็นว่าแต่ละประเทศนั้นต่างกันก็แค่เพียงสีผิว หน้าตา ทว่า เลือดเนื้อและจิตวิญญาณของพวกเขานั้น ช่างเหมือนกัน เพราะสิ่งเหล่านี้มักอยู่เหนือเส้นกั้นพรมแดน

“วันนี้เป็นวันปีใหม่ พ่อได้แต่นึกถึงเวลาสำคัญที่ผ่านพ้นไป พ่อนึกถึงดาดา (โมติลาล เนห์รู) และบาบูจี (มหาตมะ คานธี) พวกเขาได้ปลุกให้ “ประเทศแก่ ๆ อย่างอินเดีย” กลายเป็น “หนุ่ม” อีกครั้งหนึ่ง ปีใหม่คืบคลานเข้ามา แน่นอน ปีเก่าก็ได้หมดอายุขัยและตายจากเราไป อีกไม่นาน ฝันของเราก็จะเป็นจริง” (Jawaharlal Nehru, 2004)

จะเห็นได้ว่า ของขวัญวันปีใหม่ ไม่ใช่สิ่งของหรือวัตถุ แต่สิ่งที่เนห์รูแสดงออกถือเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการปรับวิถีคิดในการทำงานเพื่อสังคม หลาย ๆ บทเรียนจากเรือนจำที่ถูกนำเสนอผ่านจดหมายได้กลายเป็นข้อคิดทางการเมืองและทรงอิทธิพลต่อจิตวิญญาณของอินธิรา คานธีเป็นอย่างมาก

การปฏิวัติจงเจริญ (Inqilab Zindabad)

นี่เป็นจดหมายอีกฉบับที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความสำนัญในการปลุกจิตสำนึกนั่นก็คือ “อินกีลาบ ซินดาบาด” (Inqilab Zindabad) หรือ “การปฏิวัติจงเจริญ” เป็นถ้อยคำที่เนห์รูเขียนถึงลูกสาวในวันที่ 7 มกราคม 1931 ซึ่งถือเป็นถ้อยคำที่ชาวเรือนจำทั้งหมดอยากจะได้ยิน คำพูดนี้เป็นเสมือนท่อน้ำเลี้ยงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้

“ทำไมเราต้องตะโกนว่า “อินกีลาบ ซินดาบาด” และ “ทำไมเราถึงต้องการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลง?” ในวันนี้ประเทศของเราก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือ การได้รับเอกราชจากนักล่าอาณานิคม”

ไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะไม่เปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งบนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงทุกวัน บ้างก็เปลี่ยนแปลงทุกนาที นอกจากความตายเท่านั้นที่ทำให้สิ่งดังกล่าวหยุดการเจริญเติบโต น้ำใสไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เมื่อน้ำหยุดเคลื่อนไหว น้ำก็จะเน่า ชีวิตของเราและลมหายใจของชาติก็ไม่ต่างกัน เราต้องการอะไรละ เมื่อสักวันหนึ่งเราแก่ตัวลง ทารกได้กลายเป็นเด็กน้อย เด็กน้อยได้เปลี่ยนเป็นหญิงสาว หญิงสาวได้กลายเป็นสตรี และแน่นอน สตรีก็ได้กลายเป็นหญิงชรา เราจะทำอะไรได้บ้างในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

สัจธรรมข้อหนึ่งได้บอกเราว่า “เราไม่สามารถหยุดการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ได้เลย”

เธอจงเรียนรู้จากหญิงสาวชาวอินเดียของเรา ว่าพวกเขานั้นได้กลายเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศของเราอย่างไร บุรุษและเยาวชนของเราได้กลายเป็นกองกำลังแนวหน้า กงล้อของประวัติศาสตร์ได้ขับเคลื่อน ผู้ที่อยู่ส่วนบนของกงล้อได้พลัดหล่นสู่ข้างล่างและผู้อยู่ส่วนล่างได้ก้าวขึ้นมาข้างบน ห้วงยามเหล่านั้นได้กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญของประเทศเรา และมันกำลังก้าวเข้ามาหาเรานั้น ไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้อย่างแน่นอน” (Jawaharlal Nehru, 2004)

“อินกีลาบ ซินดาบาด” (Inqilab Zindabad) หรือ “การปฏิวัติจงเจริญ” จึงเป็นคำพูดที่มีพลังมากที่สุดบนผืนดินอนุทวีปในช่วงเวลาดังกล่าว

บทสรุป

เราจะเห็นได้ว่า ทุกโอกาส เนห์รูพยายามปลุกสำนึกของลูกสาวเพื่อให้ออกมาเป็นแนวหน้าในการขับเคลื่อนประเทศอินเดีย นี่คือ บทเรียนจากเรือนจำที่ครูคนสำคัญทางด้านการเมืองของอินเดียได้สอนลูกสาวและปลุกจิตสำนึกพลเมืองของพวกเรา แม้เนห์รูจะปลุกจิตสำนึกของลูกสาวตนเองผ่านจดหมาย แต่การปลุกดังกล่าวทรงอิทธิพลต่อคนเรือนล้านในประเทศแห่งนี้

ในวันคล้ายวันเกิด เนห์รูไม่ได้ให้วัตถุของขวัญ แต่ท่านกลับเน้นย้ำว่า “เธอจงเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นทหารของเราในการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ ถึงวันนั้นเธอจะเป็นแนวหน้าในการรับใช้ประเทศชาติของเรา”

ไม่ว่าจดหมายของเนห์รูจะมีสถานะแบบใดในสังคมของอนุทวีป แต่ คำพูดเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักคำสอนจากเรือนจำที่ทรงอิทธิพลต่อคนหนุ่มสาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จดหมายเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงข้อเขียนหรือตัวอักษรทางประวัติศาสตร์ ทว่า มันคือ “โรงเพาะชำจิตวิญญาณของนักสู้อย่างแท้จริง”

—————————————-

ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม
นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1628


Latest articles

Institution location (South Asian Studies Center)

Institute of Asian Studies Chulalongkorn University

3th Floor, Prajadhipok-Rambhai Barni Building, Phyathai Road, Bangkok 10330, THAILAND