นักวิจัยศูนย์จีนศึกษา

ศูนย์จีนศึกษา

การศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้เรื่องจีน เริ่มที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมกับกระแสการส่งเสริมเอเชียศึกษาทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการที่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ การเกิดสงครามเกาหลีและสงครามอินโดจีน ในปีพ.ศ.2510 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ก่อตั้งสถาบันเอเชียศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ โดยทำการสอน วิจัย และเผยแพร่เรื่องจีนเป็นกิจกรรมสำคัญ ภายหลังไทย-จีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว และสถาบันเอเชียศึกษาได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2528 และกิจกรรมเรื่องจีนศึกษามีมากขึ้น ในปีพ.ศ.2538 ซึ่งเป็นวโรกาสที่ไทย-จีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 20 ปี สถาบันเอเชียศึกษา จึงได้ก่อตั้งศูนย์จีนศึกษาขึ้น เพื่อการทำวิจัยในลักษณะที่เป็นสหสาขาวิชา คือ ครอบคลุมความรู้ในหลายด้านที่เกี่ยวกับจีน ได้แก่ การเมือง การปกครอง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรมและภาษา รวมทั้งความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเล โดยมุ่งหวังเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับจีน เพื่อสร้างฐานข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องจีนศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นบริการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินความสัมพันธ์กับจีนในระดับต่างๆ และเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเรื่องจีนศึกษากับนักวิชาการเรื่องจีนศึกษาทั่วโลก

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา

ความเชี่ยวชาญ

กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, กฎหมายเปรียบเทียบ, นโยบายการพัฒนาเปรียบเทียบ, จีนศึกษา

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7416

อีเมล

armtung@gmail.com

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา

ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา

รายการ
ปี

โครงการกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์กับการกำกับดูแลเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจีน: ถอดบทเรียนสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลในยุคไทยแลนด์ 4.0 (แผนงานคนไทย 4.0 คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

โครงการการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 (สกสว.)

โครงการแปลกฎหมายเศรษฐกิจจีน สำหรับเว็บไซต์กฎหมายจีน (สำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์) -โครงการพัฒนายุทธศาสตร์กำลังคนและงานวิจัยเพื่อรับรองกระแสจีนภิวัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

โครงการพัฒนายุทธศาสตร์กำลังคนและงานวิจัยเพื่อรับรองกระแสจีนภิวัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

รายการ

Practising on the Moon: Globalization and Legal Consciousness of Foreign Corporate Lawyers in Myanmar, Asian Journal of Law and Society, Volume 5, Issue 1 (May 2018)

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์จีนศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330