บทความของศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

          สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”

โดย ภาณุรักษ์ ต่างจิตร


หลัง CPTPP  มีผลบังคับใช้ (๑๔ มกราคม ๒๕๖๒) ยังยากที่จะแยกผลประโยชน์ของ CPTPP ออกจาก FTA อื่นๆ ที่เวียดนามเข้าร่วม แม้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามประเมินว่าจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มการส่งออก แต่การส่งออกไปตลาด CPTPP ปี ๒๕๖๒ ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ยกเว้นเม็กซิโกและแคนาดา สินค้าที่พิจารณาว่าสามารถใช้ประโยชน์จาก CPTPP ยังมีมูลค่าส่งออกต่ำกว่าที่คาด จากปัญหากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ที่สำคัญ ธุรกิจเวียดนามไม่เกินร้อยละ ๓๐-๔๐ เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จาก FTA รวมทั้ง CPTPP และผู้ประกอบการยังให้ความสนใจกับตลาดใหม่ เช่น เปรู ไม่มาก ขณะที่การลงทุนต่างประเทศของประเทศสมาชิก CPTPP กลับลดลง 

การประเมินผลกระทบจาก CPTPP ของเวียดนามไม่ต่างกับไทยที่สนใจจะเข้าร่วมซึ่งเน้นถึงโอกาสและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน เป็นหลักและผลกระทบทางสังคมเพียงบางด้านยังไม่ครอบคลุมถึงผลกระทบของกฎระเบียบจากการที่ CPTPP เป็น FTA ยุคใหม่โดยมีขอบเขตกว้างกว่าเรื่องการค้าในประเด็นทางสังคมต่างๆ เช่น สิทธิมนุษยชน

การค้ากับตลาด CPTPP เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ปี ๒๕๖๒ การค้าระหว่างเวียดนามกับตลาด CPTPP มีมูลค่า ๗๗.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๙ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑

การนำเข้าจากตลาด CPTPP ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การนำเข้าจากตลาด CPTPP ของเวียดนามในปี ๒๕๖๒ มีจำนวน ๓๐.๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๑ ยกเว้นออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓.๒ ทำให้ดุลการค้าระหว่างเวียดนามกับตลาด CPTPP เกินดุลที่ ๑.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖๑ จากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๑ ซึ่งขาดดุลที่ ๐.๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกไปตลาด CPTPP เพิ่มขึ้นไม่มากนักขณะที่บางประเทศลดลง

CPTPP ถูกประเมินว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อการส่งออกไปยังตลาด CPTPP ของเวียดนาม ซึ่งมีมูลค่า ๓๙.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๒ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ แต่มีมูลค่าไม่มาก เช่น สิงคโปร์ ๓,๒๓๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๑ ขณะที่การส่งออกไปบางประเทศลดลง เช่น มาเลเซีย ๓,๓๗๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๓ โดยเฉพาะออสเตรเลียที่ลดลงร้อยละ ๑๒ จากปี ๒๕๖๑ ที่เคยแตะระดับ ๓,๕๒๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะการส่งออกน้ำมันดิบที่ลดลง

การเจาะตลาดใหม่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้

เวียดนามสามารถเจาะตลาดแคนาดา, เม็กซิโก, ชิลี และเปรู หลัง CPTPP มีผลบังคับใช้ โดยส่งออกไปแคนาดา ๓.๘๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๙.๙, เม็กซิโก ๒.๘๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗.๖, ชิลีเกือบ ๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐.๕ และเปรู ๓๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐

สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เวียดนามมีศักยภาพ ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือ และอะไหล่อื่น ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ สิ่งทอ และเสื้อผ้า

ข้อกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้า

สินค้าหลายประเภทที่พิจารณาว่า สามารถใช้ประโยชน์จาก CPTPP เช่น สิ่งทอ แต่ในปี ๒๕๖๒ กลับพบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีมูลค่าเพียง ๓๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่คาดไว้ ๒๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ จากอุปสรรคซึ่งเป็น “คอขวด” ของอุตสาหกรรมเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากจีน เกาหลี และญี่ปุ่น เช่น ฝ้าย ถึงร้อยละ ๙๙ โดยปี ๒๕๖๒ อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามต้องนำเข้าฝ้ายมูลค่า ๒,๕๖๗ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๘๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑

ผลของ CPTPP ทำให้ธนาคารโลกคาดว่าการส่งออกของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๒ และจะขยายตัวเพิ่มเป็นร้อยละ ๖.๙ ในปี ๒๕๗๓ CPTPP จะช่วยปรับโครงสร้างการนำเข้าและส่งออกของเวียดนามให้สมดุลมากขึ้นจากปัจจุบันที่พึ่งพาตลาดในเอเชียตะวันออก เช่น จีน และเกาหลีใต้ มากจนเกินไป

FDI จากประเทศสมาชิก CPTPP ลดลงอย่างมาก

ในปี ๒๕๖๒ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของประเทศสมาชิก CPTPP (ยกเว้นเปรู) ตรงข้ามกับที่ประมาณการไว้ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง ๕.๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงกว่าร้อยละ ๓๘.๘ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ โดยญี่ปุ่นมีการลงทุนลดลงมากที่สุด จาก ๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ เหลือ ๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๕๓ เช่นเดียวกับออสเตรเลียและมาเลเซีย ซึ่งลดลงร้อยละ ๖๒ และ ๕๑ ตามลำดับหากเทียบกับปี ๒๕๖๑ ขณะที่มีการลงทุนจำนวนไม่มากนักของแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยมี FTA กับเวียดนามมาก่อน จากแคนาดาจำนวน ๑๗๘ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ และเม็กซิโกจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ ๑,๑๐๐

FTA ยุคใหม่

CPTPP ได้สร้างความท้าทายแก่เวียดนามจากการเป็น FTA ยุคใหม่ ที่มีขอบเขตกว้างขึ้นทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมในประเด็นทางสังคมต่างๆ เช่น การปกป้องสิทธิมนุษยช การส่งเสริมหลักความโปร่งใส (Transparency) ในการกำกับดูแลที่ดี (Corporate Governance) และหลักนิติธรรม การต่อต้านการทุจริต การจัดการกับผลกระทบของการติดสินบน และคอร์รัปชั่น ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเข้าร่วม CPTPP ยังถูกมองเป็นโอกาสสำหรับเวียดนามในการปฏิรูปสถาบันและปรับปรุงระบบกฎหมาย ทำให้เวียดนามต้องแก้ไขกฎหมายจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น การให้สิทธิและเสรีภาพในการสมาคม (Freedom of Association) และการต่อรองร่วม (Collective Bargaining) รวมถึงสิทธิการจัดตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการและเป็นเรื่องใหม่สำหรับเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันกลไกของสหภาพแรงงานเวียดนามมีความสัมพันธ์กับระบบการเมืองภายใต้การควบคุมของ VGCL (Vietnam General Confederation of  Labor) รวมถึงการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่ดินอันอาจกระทบต่อสิทธิชนกลุ่มน้อยจากการลงทุนอันเป็นผลจาก CPTPP ซึ่งนำไปสู่การบังคับโยกย้ายถิ่นฐาน จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางสังคมขึ้นได้

ผลกระทบที่เวียดนามกังวลไม่ต่างจากไทยที่สนใจเข้าร่วม แม้ CPTPP จะยืนยันว่าสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ไม่ควรขัดขวางการปกป้องสุขภาพของประชาชน (CPTPP Articles : ๑๘.๖) เฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการเข้าถึงยาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อบริการสุขภาพแก่ประชากรเวียดนามที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ แต่ต้องซื้อยาในราคาสูงอย่างไม่มีทางเลี่ยงจากการผูกขาดสิทธิบัตรยา (Evergreening Patent)

อาจเร็วเกินไปสำหรับเวียดนาม เพราะเป็นปีแรกของการดำเนินการที่จะชี้ว่า CPTPP ดีหรือไม่ดี สำเร็จหรือล้มเหลวเมื่อเทียบกับ FTA อื่นๆ แต่ชัดเจนว่า การเข้าร่วม CPTPP ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๖  FTA ที่มีผลหรืออยู่ระหว่างการเจรจาของเวียดนาม ทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลาง FTA ระดับโลก คิดเป็นร้อยละ ๕๙ ของประชากรโลก หรือร้อยละ ๖๘ ของการค้าโลก ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเวียดนาม และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เพราะการระบาดของ COVID – ๑๙ แต่ขึ้นอยู่ว่าเวียดนามจะสามารถใช้ประโยชน์ และโอกาสจาก  FTA มากมายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร ?


อ้างอิงจาก :
– ”Hiệp định CPTPP: Cơ hội và thách thức đối với ngành Công đoàn Việt Nam”,
Tạp chí Công Thương, February 5, 2020.
http://www.tapchicongthuong.vn/bai-viet/hiep-dinh-cptpp-co-hoi-va-thach-thuc-doi-voi-nganh-cong-doan-viet-nam-71229.htm
– “Việt Nam sau 1 năm vào CPTPP: Nhiều con số còn khiêm tốn”
VOV, February 20, 2020.
https://vov.vn/kinh-te/viet-nam-sau-1-nam-vao-cptpp-nhieu-con-so-con-khiem-ton-1012355.vov
-“Bức tranh thương mại sau 1 năm Hiệp định CPTPP có hiệu lực”,
Bộ Kế hoạch và Đầu tư, January 15, 2020.
http://www.mpi.gov.vn/Pages/tinbai.aspx?idTin=45100&idcm=49
– “Bước vào cuộc chơi 10 nghìn tỷ USD, 1 năm 2 tín hiệu trái chiều”,
VietNamNet, February 18, 2020.
https://vietnamnet.vn/vn/kinh-doanh/dau-tu/1-nam-thuc-hien-cptpp-xuat-khau-tang-kha-dau-tu-giam-manh-617150.html
– “CPTPP đem lại gì cho Việt Nam sau 1 năm?”
Báo Hải Quan, January 16, 2020.
https://haiquanonline.com.vn/cptpp-dem-lai-gi-cho-viet-nam-sau-1-nam-118408.html


บทความล่าสุด

ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้
ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้

โดย ศูนย์แม่โขงศึกษา  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่โลกเผชิญกับโรคระบาด ปักกิ่งกลับขยายอิทธิพลในทะเลจีนใต้อย่างก้าวร้าว จนถูกกล่าวหาว่า  “ฉวยโอกาส” จากวิกฤต เพื่อเปลี่ยนกฎของเกมตามต้องการหรือแท้จริงแล้วเป็นการดำเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่พญามังกรได้วางไว้แม้ โควิด-

ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2563
กระแสเอเชีย
เลือกตั้งเมียนมา ๒๕๖๓ หนังคนละม้วน
เลือกตั้งเมียนมา ๒๕๖๓ หนังคนละม้วน

เมียนมากำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๓๗ ล้านคน และพรรคการเมืองประมาณ ๙๗ พรรค ที่ยื่นจดทะเบียนต่อ UEC (Union Election Commission) แม้จะเป็นประเด็นเห็นต่างในหมู่พรรคการเมืองจากสถานการณ์การระบาดของ โควิด-๑๙ ซึ่งพรรคเล็กๆ มองว่า โรคระบาดจะทำให้มีผู้มา

ศูนย์แม่โขงศึกษา
2563
กระแสเอเชีย
ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5
ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5

โดย ปภังกร เสลาคุณ ผู้ช่วยนักวิจัย ประจำศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5 ในช่วงเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ ได้มากเท่ากับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ

ปภังกร เสลาคุณ
2562
thaiworld
การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018
การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018

โดย วินิสสา อุชชิน การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018วินิสสา อุชชินนักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วเมื่อปี 2013 พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodia People’s Party: CPP) ซึ่งสมเด็จฮุน เซน เป็นประธานพรรค ชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในรัฐสภา 6

วินิสสา อุชชิน
2561

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459