บทความของศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

          สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5

โดย ปภังกร เสลาคุณ ผู้ช่วยนักวิจัย ประจำศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทุกข์คนเมือง: เมื่อเวียดนามต้องรับมือกับฝุ่น PM2.5


ในช่วงเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ ได้มากเท่ากับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ จนทำให้ท้องฟ้าแทบทุกเขตในกรุงเทพฯ เปลี่ยนเป็นสีเทาและส่งผลให้ประชาชนต้องดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นเมืองเพียงแห่งเดียวที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศ บรรดาเมืองใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนต่างก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกรณีของเมืองใหญ่ 2 อันดับแรกของเวียดนามอย่างโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอย ที่มีสถานการณ์ไม่แตกต่างจากกรุงเทพฯ มากนัก

ปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ: ความโชคร้ายของคนเมืองใหญ่

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของเวียดนาม ทำให้ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศต่างหลั่งไหลเข้าไปแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอย โดยมีการประเมินว่า ในปี 2017 เมืองใหญ่ทั้งสองแห่งมีประชากรอาศัยอยู่รวมกันกว่า 15 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ชีวิตในเมืองศูนย์กลางความเจริญใช่ว่าจะมีแต่ความสวยงามเสมอไป ในทางกลับกัน ชาวเมืองใหญ่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายจากค่าครองชีพสูง การอยู่ห่างไกลครอบครัว และความกดดันจากการทำงานและการใช้ชีวิต เพียงเพื่อแลกกับวิถีชีวิตที่ดูเหมือนว่าจะสะดวกสบายกว่า นอกจากนี้ พวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาที่ยากต่อการรับมืออย่างปัญหามลพิษจากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหามลพิษทางอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ตารางแสดงคุณภาพอากาศในโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอย เมื่อปี 2017


ที่มา: http://en.greenidvietnam.org.vn/view-document/5af836ca5cd7e87c49ee7e52
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โฮจิมินห์ซิตี้และฮานอยต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศครั้งใหญ่ จากการที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ปกคลุมทั่วน่านฟ้าของเมือง ข้อมูลจาก Green Innovation and Development Centre (GreenID) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหากำไรในเวียดนามระบุว่า เวียดนามต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในปี 2017 เมื่อการวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index-AQI) ชี้ให้เห็นถึงค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศสูงสุดของทั้งสองเมืองคือ 108 และ 147 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่นเดียวกับค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงที่สุดที่วัดได้ในโฮจิมินห์ซิตี้อยู่ที่ 39.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและฮานอยอยู่ที่ 74.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินกว่าค่ามาตรฐานซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็นเท่าตัว[1]

สาเหตุของมลพิษทางอากาศในมุมมองของคนเวียดนาม

ทั้งนี้ GreenID ยังได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในเวียดนามว่า ในมุมมองของพวกเขา สาเหตุหลักที่ทำให้มลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูงคืออะไร โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบหนึ่งพันคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนามลงความเห็นว่า ยานพาหนะบนท้องถนนเป็นตัวการที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือ โรงงานอุตสาหกรรม และโรงผลิตไฟฟ้า ตามลำดับ[2]

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่า ยานพาหนะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศอันดับหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากการที่มีรถยนต์และและยานพาหนะยอดนิยมอย่างรถจักรยานยนต์สัญจรไปมาอยู่หลายล้านคันบนท้องถนนในโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอย โดยยานพาหนะเหล่านี้ต่างก็มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมาทางท่อไอเสียซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85 ของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทั้งหมดที่ออกสู่บรรยากาศ[3] ทั้งนี้ แม้ว่าประชาชนจะอยากหันไปพึ่งพาระบบขนส่งมวลชนช่องทางอื่น ๆ เช่น รถไฟฟ้าและรถโดยสารสาธารณะ แต่ระบบขนส่งมวลชนเหล่านี้ยังไม่สามารถเป็นตัวเลือกที่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากรถไฟฟ้าในเมืองทั้งสองแห่งยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ส่วนรถโดยสารสาธารณะส่วนใหญ่นั้นก็มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งยังเป็นรถรุ่นเก่าที่ปล่อยควันเสียออกสู่บรรยากาศไม่ต่างกับยานพาหนะประเภทอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ ชาวเมืองจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการซื้อรถส่วนตัวไว้ใช้งาน และเมื่อจำนวนยานพาหนะเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหามลพิษทางอากาศจึงรุนแรงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นอกจากนี้ สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่มีผู้เลือกตอบเป็นอันดับสองและสามอย่างโรงงานอุตสาหกรรม และโรงผลิตไฟฟ้าต่างก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรและการลงทุนจากต่างประเทศทำให้โรงงานอุตสาหกรรมและโรงผลิตไฟฟ้าจำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของเมืองที่มีมากขึ้น ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น โฮจิมินห์ซิตี้ ฮานอย และจังหวัดใกล้เคียงต่างก็เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมทั้งเบาและหนักซึ่งปล่อยควันพิษออกสู่อากาศในปริมาณมาก

ในขณะเดียวกัน โรงผลิตไฟฟ้าหลายแห่งของเวียดนามได้มีการใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แม้ว่าโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอยจะไม่ได้เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่พื้นที่โดยรอบของทั้งสองเมืองกลับเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่ง โดยเฉพาะฮานอยที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งอยู่โดยรอบกว่า 20 แห่ง

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ฝุ่นละอองและควันพิษจากทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและโรงผลิตไฟฟ้าเหล่านี้จะฟุ้งกระจายในอากาศและถูกลมพัดพามายังโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอยจนก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในที่สุด

เมื่อเมืองใหญ่ทำให้เราสูญเสียสุขภาพที่ดี

แม้สภาพท้องฟ้าเหนือโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอยจะถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ชาวเมืองส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตประจำวันของตนอย่างปกติ ชาวเมืองบางคนกล่าวว่า เขาไม่รู้ว่าหมอกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากอากาศเป็นพิษ[4] ในขณะที่ชาวเมืองอีกคนหนึ่งกล่าวว่า เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าค่าดัชนีคุณภาพอากาศคืออะไร แต่เขาก็เลือกที่จะป้องกันสุขภาพของตนเองเอาไว้ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย[5] เช่นเดียวกับชาวเมืองอีกหลายคนที่ใช้หน้ากากอนามัยเป็นเครื่องมือในการป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อต้องขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าวิธีการดังกล่าวจะไม่ได้ผลเท่าไรนัก เนื่องจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มลพิษทางอากาศมีส่วนทำให้ชาวเวียดนามกว่า 11,000 คนเสียชีวิตในทุก ๆ ปี นอกจากนี้ ประชาชนชาวเวียดนามอีกราว 3.76 ล้านคนยังคงต้องเผชิญกับโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดและไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะในโฮจิมินห์ซิตี้และฮานอยที่ถูกรายงานว่า มีประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ[6]

การจัดการกับปัญหามลพิษทางอากาศของเวียดนาม

ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของเวียดนามจำเป็นต้องหันมาให้ความสนใจ และแสวงหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในปี 2016 รัฐบาลเวียดนามได้ออกแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ (the National Action Plan on Air Quality Management) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษและปรับปรุงคุณภาพอากาศ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวระบุวิธีการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ อาทิ การติดตั้งสถานีตรวจสอบอากาศ การจำกัดการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย และการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น[7]

ต่อมาในปี 2017 สมาชิกสภากรุงฮานอยได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกการใช้รถจักรยานยนต์ในย่านใจกลางเมืองภายในปี 2030 เนื่องจากรถจักรยานยนต์ถูกมองว่าเป็นต้นตอของมลพิษทางอากาศจากการปล่อยควันพิษทางท่อไอเสีย พร้อมกันนั้น สมาชิกสภายังให้คำมั่นว่าจะเพิ่มจำนวนรถโดยสารสาธารณะ เพื่อให้ชาวเมืองลดการใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น[8]

ในส่วนของภาคประชาสังคมเองก็ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและออกมารณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น เช่น กรณีของกลุ่มวัยรุ่นในกรุงฮานอยที่ได้ออกมาถือป้ายรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ดับเครื่องยนต์ หากจอดรถนานเกิน 30 วินาที[9] หรือในกรณีของ GreenID และ the Live & Learn Environment Education Centre ที่ได้ร่วมกันจัดงาน “the Vietnam Clean Air Day 2018” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและชี้ให้ประชาชนเห็นถึงสภาพปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น รวมไปถึงการหาทางออกของปัญหาร่วมกัน เป็นต้น[10]

สรุป

ปัญหามลพิษทางอากาศกลายเป็นเรื่องน่ากังวลใจของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ทั่วโลกจากการที่ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นตามการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้งของเมือง นอกจากนี้ ยังดูเหมือนว่าหลายประเทศที่ประสบปัญหา เช่น เวียดนามและไทย จะยังไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราต้องจับตามองกันต่อไปว่า ปัญหามลพิษทางอากาศที่กำลังทำลายสุขภาพของเราจะบรรเทาเบาบางหรือยุติไปได้อย่างไร หรือในบางทีเราอาจจะต้องยอมรับชะตากรรมที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราในอนาคต หากไม่มีใครสามารถหาทางออกสำหรับปัญหานี้ได้

—————————————-

ปภังกร เสลาคุณ ผู้ช่วยนักวิจัย ประจำศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1624


บทความล่าสุด

เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”
เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”

โดย ภาณุรักษ์ ต่างจิตร หลัง CPTPP  มีผลบังคับใช้ (๑๔ มกราคม ๒๕๖๒) ยังยากที่จะแยกผลประโยชน์ของ CPTPP ออกจาก FTA อื่นๆ ที่เวียดนามเข้าร่วม แม้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามประเมินว่าจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มการส่งออก แต่การส่งออกไปตลาด CPTPP ปี ๒๕๖๒ ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ยกเว้นเม็กซิโกแ

ภาณุรักษ์ ต่างจิตร
2563
กระแสเอเชีย
ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้
ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้

โดย ศูนย์แม่โขงศึกษา  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่โลกเผชิญกับโรคระบาด ปักกิ่งกลับขยายอิทธิพลในทะเลจีนใต้อย่างก้าวร้าว จนถูกกล่าวหาว่า  “ฉวยโอกาส” จากวิกฤต เพื่อเปลี่ยนกฎของเกมตามต้องการหรือแท้จริงแล้วเป็นการดำเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่พญามังกรได้วางไว้แม้ โควิด-

ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2563
กระแสเอเชีย
เลือกตั้งเมียนมา ๒๕๖๓ หนังคนละม้วน
เลือกตั้งเมียนมา ๒๕๖๓ หนังคนละม้วน

เมียนมากำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๓๗ ล้านคน และพรรคการเมืองประมาณ ๙๗ พรรค ที่ยื่นจดทะเบียนต่อ UEC (Union Election Commission) แม้จะเป็นประเด็นเห็นต่างในหมู่พรรคการเมืองจากสถานการณ์การระบาดของ โควิด-๑๙ ซึ่งพรรคเล็กๆ มองว่า โรคระบาดจะทำให้มีผู้มา

ศูนย์แม่โขงศึกษา
2563
กระแสเอเชีย
การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018
การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018

โดย วินิสสา อุชชิน การเลือกตั้งในกัมพูชาปี 2018วินิสสา อุชชินนักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วเมื่อปี 2013 พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodia People’s Party: CPP) ซึ่งสมเด็จฮุน เซน เป็นประธานพรรค ชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในรัฐสภา 6

วินิสสา อุชชิน
2561

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459