นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

          สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัยชำนาญการ

ความเชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะกระบวนการบูรณาการภูมิภาค ด้านเศรษฐกิจ พลังงานและการเมือง ประเด็นข้ามพรมแดน

หมายเลขโทรศัพท์

02 218 7468

อีเมล

Ukrist.P@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รายการ
ปี

หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการกำกับกิจการพลังงาน

หัวหน้าโครงการวิจัย ทุเรียนในอาเซียน: โอกาส ความท้าทาย และแนวทางในการช่วงชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของทุเรียนไทย

นักวิจัย โครงการศึกษาผลกระทบของ OTT ต่อกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และแนวทางส่งเสริมและกำกับดูแล

หัวหน้าโครงการวิจัย “ชนชั้นนำและแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: องค์ประกอบ โครงสร้าง และพลวัตในยุคเปลี่ยนผ่าน”

หัวหน้าโครงการวิจัย “สังคมวิทยาการเมืองว่าด้วยการดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาและเวียดนาม”

2560 - 2561

หัวหน้าโครงการวิจัย “การปฏิรูประบบโทรคมนาคมกับการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงการสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในกลุ่มอาเซียน”

2559 - 2560

นักวิจัย โครงการวิจัย “การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปหลังยุคสงครามเย็น”

2557 - 2559

หัวหน้าโครงการวิจัย “ศึกษาอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย”

2557 - 2558

หัวหน้าโครงการวิจัย “ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในประเทศอาเซียนที่กลุ่มปตท.ดำเนินธุรกิจ”

2557 - 2558

หัวหน้าโครงการวิจัย “อิทธิพลจีนในกลุ่มประเทศอาเซียนภาคพื้นทวีป”

2557

หัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานด้านพลังงานระหว่างประเทศ”

2555 - 2556

นักวิจัย การรับรู้และความเข้าใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholders ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อไทย. ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. นักวิจัยในส่วนของประเทศกัมพูชา

หัวหน้าโครงการ โครงการส่งเสริมการลงทุนในประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า. สำนักงานส่งเสริมการลงทุน.

นักวิจัย โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบแนวทางการให้ความช่วยเหลือของ สพพ. แก่ประเทศเพื่อนบ้าน

นักวิจัย โครงการศึกษาผลกระทบและผลประโยชนที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือ สำนักงานส่งเสริมการพัฒนาพัฒนาในประเทศเพื่อนบ้าน. กรณีศึกษา โครงการปรับปรุงและลาดยางผิวจราจรเส้นทางตราด/เกาะกง-สแรอ็อมเบิล.

นักวิจัย โครงการวิจัยพื้นที่เศรษฐกิจเชิงลึกของประเทศบนแนวเขตตะนาวศรี ฝั่งทะเลอันดามัน ประเทศพม่า. สภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เครือข่ายอ นาจทักษิณ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรื่อง ความไม่เป็นธรรมและ โครงสร้างอ านาจ (2011-2013) รายงานวิจัยเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการพิมพ์เผยแพร่ โดยความร่วมมือ ระหว่างสกว.และส านักพิมพ์มติชน

นักวิจัย ภาพความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในทัศนะของสื่อเอเชีย: ศึกษากรณีจีน พม่า เวียดนาม และกัมพูชา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักวิจัย ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)(2008)

เศรษฐศาสตร์การเมืองของกลุ่มทุนโทรคมนาคมหลังวิกฤตเศรษฐกิจไทยโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ระยะเวลาในการทำวิจัย

โครงการ วาระแห่งชาติสำหรับไทยในการรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ชาติในเอเชีย ศึกษากรณี ยุทธศาสตร์ของไทยต่อการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าในเอเชีย-เป็นผู้วิจัยหลักประเทศ สิงคโปร์และบูรไนระยะเวลาโครงการ 6 เดือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจกับการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (งานวิจัยสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยโครงการเมธีวิจัยอาวุโส รศ. ดร. สมภพ มานะรังสรรค์) เสร็จเรียบร้อยแล้ว

2544

การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสหรัฐอเมริกาต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทย ทศวรรษ 1960 และ 1990 (งานวิจัยเงินทุนงบประมาณแผ่นดิน) ตีพิมพ์แล้วโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2543

บทบาทของกลุ่มประเทศนิกส์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย (งานวิจัยเงินทุนงบประมาณ แผ่นดิน) ตีพิมพ์แล้วโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2537

Thai Stakeholders Perception toward the Greater Mekong Sub-region Countries, Burma, Cambodia, Laos, Vietnam. Research Institute of Contemporary Southeast Asia (IRASEC), France. (2007)

“Thailand economic crisis 1997 and the Adjustment of a Thai construction company: a case study of the Italian-Thai Development” Samart Chiasakul and Kenji Koike (eds) Financial crisis in Thailand: adjustment of local companies (Tokyo: Institute of Developing Economies, 1998)

“The Resurgence of US Influences on Thai Economic And Southeast Asia Policy” International Seminar on Hegemony and Problem of Technocracy organized by Center for Southeast Asia Studies, Kyoto University, 25-26 March 2002

รายการ
ปี

กรรมการ/ปฎิคม สมาคมอาเซียนแห่งประเทศไทย

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการจัดการองค์ความรู้สภาความมั่นคงแห่งชาติ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับระดับข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย ฝ่ายบุคคลและทรัพยากรมนุษย์กลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประธานโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยกับ Xi’an Jiaotong-Liverpool University, China PRC

รายการ

Ukrist Pathmanand and Michael K. Connors. "Thailand’s Public Secret: Military Wealth and the State." Journal of Contemporary Asia (2019): 1-25.

โครงการจัดทำข้อมูลอาเซียน ในส่วนประเทศไทย (เป็นโครงการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียน และตีพิมพ์เป็นหนังสือ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก บริษัท นานมีบุ๊ค จำกัด) 2556.

Pathmanand, Ukrist “ Thaksin : personality, party and Thailand” Jean Blondel and JeanLouis Thiebautl (eds.) Political Leadership, Parties and Citizens : the personalization of leadership (London : Routledge 2010)

“Contemporary Thailand political crisis” paper presented at Thailand update, Copenhagen Denmark. 18-19 May 2010 organized by the Ministry of Foreign Affairs, Denmark and University of Copenhagen, Denmark.

“Coup, Confrontation and Assassination : how Democratization is working in Thailand ?”paper presented at International Seminar on Asian Democratization and Politico Economic Sustainable Development, Department of Political Sciences, National Chiang Kung University, Tainan, Taiwan 16 October 2009

Ukrist Pathmanand,.“A different coup d’etat?” Journal of Contemporary Asia. (38)1:124-142, 2008.

Ukrist Pathmanand and Chris Baker, “Hello and Goodbye to mobile phone” Pasuk Phongpaichit and Chris Baker (eds.) Thai Capital After Crisis (Chiang Mai : Silkworm Books, 2008)

Ukrist Pathmanand “Thailand-Cambodia Relation after 1991 : Cambodia as New Interest for Thailand” Asian Review 2007

“ Coup, Capital and Confrontation in the late Thaksin era” Asian Letter (NIAS) (December 2007

Ukrist Pathmanand, “Thaksin’s Achilles’ heel – the failure of hawkish approaches in the Thai South”. Critical Asian Studies, 38(1): 73-93, 2006.

“ Singapore’s Mission to befriend Thailand” Far Eastern Economic Review (April 2006)

“ How Long Before the Junta Splinters ?” Far Eastern Economic Review (October 2006)

McCargo, D., Ukrist Pathmanand, The Thaksinization of Thailand. NIAS Press: Copenhagen, 2005.

Ukrist Pathmanand, “Globalization and Democratic Development in Thailand : the new path of Military, Private Sector and Civil Society” Contemporary Southeast Asia Vol. 23 No. 1, April 2001.(October 2001)

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์.“วิกฤตไทย วิกฤตเอเชีย”. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, บรรณาธิการ. “อาเซียนใหม่”. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2541.

Ukrist Pathmanand, “Thaksin Shinawatra group: a study on relationship between money and politics in Thailand” Copenhagen Journal of Asian Studies Vol. 13, October 1998.

อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์, พัชรี สิโรรส. “คู่มือเหตุการณ์สำคัญทางสังคม เศรษฐกิจการเมืองไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2428-2528”, กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2534.

บทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์รายวันมติชนสุด สัปดาห์ เอเชียปริทัศน์ Bangkok Post ฯ บรรณาธิการร่วม หนังสือ ชนชั้นนำและแรงงานสัมพันธ์ โครงสร้างและพลวัตในช่วงเปลี่ยนผ่านภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ มติชน (2020)

รายการ
ปี

Visiting Fellow 1995 The Hitachi Scholarship Foundation: Komai Fellowship at Institute of Anthropology and History, Tsukuba University, Japan (September-November 1995)

Visiting Fellowship, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan (February-August 2004)

ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิจัย (เชี่ยวชาญพิเศษ) ระดับ 10เทียบเท่าตำแหน่ง ศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555

2555

ได้รับรางวัล คนดี ศรีจุฬา ประเภทงานวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 25 มีนาคม 2555

2555

Senior Fellow, Asian Public Intellectual (API) the Nippon Foundation (2009) 4.ได้รับทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษก สมโภช เพื่อผลิตผลงานเพื่อตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติ ประจำปี 2018

ได้รับเชิญเป็นศาตราจารย์รับเชิญจาก African and Southeast Asia Graduate Scholl, Kyoto University (March 2018)

เป็นศาตราจารย์รับเชิญ บรรยายวิชา ASEAN in Global Context at Department of International Relations, Xi’an Jiaotong- Liverpool University, P.R. China (October 2018)

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459