นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

          สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

อดิศร เสมแย้ม

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา

ความเชี่ยวชาญ

ลาวศึกษา ผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ และชายแดนศึกษา

หมายเลขโทรศัพท์

02 218 7468

อีเมล

Adisorn.S@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการ
ปี

โครงการวิจัย “ชนชั้นนำและแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: องค์ประกอบ โครงสร้าง และพลวัตในยุคเปลี่ยนผ่าน”

2560 - 2562

โครงการวิจัย“สิทธิความหลากหลายทางเพศในรัฐสังคมนิยมเวียดนามและลาว กับการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน”

2560

โครงการวิจัย “การพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

2560 - 2561

โครงการวิจัย “โอกาสและอุปสรรคของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของไทยในการส่งออกสินค้าไปยังมณฑลยูนนานด้วยแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ชุดโครงการวิจัยเรื่อง” ความ (ไม่) มั่นคงมนุษย์: การปรับโฉมของภูมิภาคแม่โขง การข้ามพรมแดนและความเหลื่อมล้ำ ในอาเซียนภาคพื้นทวีป

2559 - 2562

โครงการวิจัย “การปฏิรูประบบโทรคมนาคมกับการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในกลุ่มประเทศอาเซียนภาคพื้นทวีป”

2560

โครงการวิจัย “คุณธรรมในอาเซียน : จิตอาสาในอาเซียนภาคพื้นทวีป”

2559

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย”

2559

โครงการวิจัย “การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ของประเทศในกลุ่มอาเซียน”

2558

โครงการวิจัย“อิทธิพลจีนในอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”

2558

โครงการวิจัย“การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปหลังยุคสงครามเย็น”

2558

โครงการวิจัย “ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของประเทศเพื่อนบ้าน”

2554

โครงการวิจัย “ไทยในความรับรู้ความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน”

2553

โครงการวิจัย “บทบาทและกระบวนการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของ CIDA ยุคหลังสงครามเย็น : กรณีศึกษาการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารในโครงการศูนย์โทรคมนาคมและสารสนเทศไทย-แคนาดา”

2554

โครงการวิจัย “โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่าน สปป.ลาว (R3)” ใน ชุดโครงการวิจัย “การศึกษาผลกระทบและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือจาก สพพ.”,

2552 - 2553

โครงการวิจัย “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ

2551

.โครงการวิจัย “ทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนตะวันตกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ”

2550

โครงการวิจัย “โครงการติดตามแผนการปฏิบัติการเกณฑ์พื้นฐาน 10 ประการในการดำรงชีวิตของคนไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2547-2552)”,

2549

โครงการวิจัย “มิติวัฒนธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว: กรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนจังหวัดมุกดาหาร”

2549

โครงการวิจัย “ผลกระทบทางสังคมของการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2

2548

โครงการวิจัย”วาระแห่งชาติของไทยในการรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติกับประเทศในเอเชีย : ยุทธศาสตร์ในการยกระดับทางเศรษฐกิจการค้ากับประเทศในเอเชีย”

2546

โครงการวิจัย”วัฒนธรรมสัมพันธ์ชายแดนไทย-ลาว”

2545

โครงการวิจัย”การค้าชายแดนนอกระบบไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)”

2545

โครงการวิจัย”ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน”

2545

โครงการวิจัย”ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสายตาคนลาว”,

2544

“Vietnamese Transnational Immigrant Entrepreneurship in Laos”

“How Laos’ people response to Chinese community in Laos?”,

“Social Impact Assessment Study of the Nam Ngiep-I Hydropower Project, Lao PDR”

“Social Impact Study of Second Mekong International Bridge”

“Cross Border Migration between Thailand and Lao PDR: A Qualitative Assessment of Lao Migration and Its Contribution to HIV Vulnerability Thailand and Lao PDR”, (FHI/USAID)

“Social Structure and Social Change in Ban Laeng, Rayong Province”

“Trafficking in Children in to the Worst Form of Child Labour in Thailand Rapid Assessment Findings from Four Research Sites along the Thailand- Lao and Thailand-Myanmar Border”

รายการ

"โอกาสและอุปสรรคของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของไทยในการส่งออกสินค้าไปยังมณฑลยูนนานและเสฉวนด้วยแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” การประชุมวิชาการระดับชาติด้านชายแดนศึกษาและการพัฒนาระหว่างประเทศ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย, 5-6 กันยายน 2562

"The Opportunity and Challenges of Thai Northern SMEs to export products to China via the R3 A route after using Cross Border E- Commerce or Hai Tao In Mohan International Border Checkpoint, Xishuangbanna, Yunnan " การสัมมนาวิชาการนานาชาติ “Connectivity, Mobility and Regional Integration in ASEAN” ณ Paragon International University กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา, 29 มกราคม 2562

"Opportunities and obstacles of Thai’s SMEs to export products to China at Mohan Border Checkpoint, Yunnan Province after using CERI" การสัมมนาวิชาการนานาชาติ"Connectivity, mobility and regional integration in ASEAN ที่ "Wawasan Open University ณ Wawasan Open University รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย, 15 กุมภาพันธ์ 2562

"Vietnamese Transnational Immigrant Entrepreneurship in Laos" การสัมมนาวิชาการนานาชาติ“New ASEAN Connectivity "workshop ณ University of Nottingham, Malaysia campus (UNMC),

“Low-Cost Airlines and their Consequences to Tourism in Luang Prabang” การสัมมนาวิชาการนานาชาติ Luang Prabang :from town to city, SEZ and ASEAN connectivity ณ แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว, 5 ธันวาคม 2560

["Public spaces] Walking street, urban tourism and governance” การสัมมนาวิชาการนานาชาติASEAN’s Connectivity: Sustainable Tourism: Knowledge Transfer within Academic and Government "23 สิงหาคม 2560

"Chinese in Laos PDR : When, Why and of What Significance Towards the Mekong Region?" การสัมมนาวิชาการนานาชาติ 13th International Conference on Thai Studies E-Proceedings เชียงใหม่, 12 กรกฏาคม 2562

“How Laos ’people response to Chinese community in Laos?” การสัมมนาวิชาการ นานาชาติ International Seminar on China’s role in mainland ASEAN, ASEAN Studies Center, Chulalongkorn University

“China's Soft Power as a Cultural Dimension in Thai perspective” การสัมมนาวิชาการนานาชาติ Symposium of China-ASEAN University Think-Tank Network "The “Belt and Road” Initiative and China-ASEAN Relations " 2017 ณ มลฑล กวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, 2-5 สิงหาคม 2560

“The Networking of Multinational Beer Companies, trends and potential affect to market inThailand and CLMV under AEC” ก า ร สั ม ม น า วิ ช า ก า ร น า น าช า ติ“ Mekong Regionalism and New Phase of Development ”: A new analytic frameworks ”, the Asian Research Center (ARC), National University of Laos (NUOL) นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว 29 ตุลาคม 2559

“Waves of migration and the New Chinatown in Vientiane“การสัมมนาวิชาการนานาชาติ Sino-Thai Cooperation Seminar เรื่อง "Migration in Indochina Peninsular and Social Development, Yunnan Academy of Social Sciences (YASS), Xishuangbanna,, Yunnan, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, 28 พฤศจิกายน 2016

“Alcohol industry in Lao PDR, effects on health policies and alcohol control after AEC: a case Study of brewing industry” การประชุม the 4th regional workshop on alcohol and related policies for MPs from Lao PDR, Cambodia and Vietnam จัดโดยคณะกรรมาธิการวัฒนธรรม-สังคม สภาแห่งชาติลาว นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว, 12 มกราคม 2559

“The improvement of R3 route in Laos PDR and economic development in Bokeo and Luang Namtha Provinces” การสัมมนาวิชาการนานาชาติ the Fifth RIIO International Conference จัดโดย Research Institute for Indian Ocean Economies (RIIO), Yunnan University of Finance and Economics (YUFE) Kunming, Yunnan, ปร ะ เ ท ศสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 29 ตุลาคม 2558

“ยุทธศาสตร์อำนาจละมุนในความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของจีนต่อลาว” การสัมมนาวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา ปี 2557, 22 ธันวาคม 2557

“การกลับมาของสหรัฐอเมริกาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง“การสัมมนาวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา ปี 2555 “จากน่านทะเลอันดามันถึงทะเลจีนใต้: เอเชียกับก้าวย่างของประเทศไทย”, 29 มกราคม 2556

“ภาพ ปรากฏของไทยในสื่อลาว” วารสาร เอเชียปริทัศน์ : ไทยในการรับรู้ของเพื่อนบ้าน ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน, 2555

“ ลาว:บนเส้นทางสองแพร่ง” วารสารกระแสเอเชีย 2555/2012 ฉบับที่ 1 19.“ลาว: จากบึงทาดหลวงถึงสมบัด สมพอน” วารสารกระแสเอเชีย 2556/2013 ฉบับที่ 1

“ลาวกับวิกฤติการเมืองไทย”วารสารกระแสเอเชีย 2557/2014 ฉบับที่ 1

“เสียงแคนในการเมืองสยาม-ลาว”ทางอีสาน,2556

”ขบวนการต่อต้านลาวในมิติของความสัมพันธ์ในด้านความมั่นคงของรัฐระหว่างไทยกับลาว”. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

“ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในจินตภาพของลาว” ในหนังสือ “ไทยในสายตาเพื่อนบ้าน” สุเนตร ชุตินธรานนท์(บรรณาธิการ) สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 2, 2550

“การกลับมาของสหรัฐอเมริกาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ในหนังสือ “อาเซียนในแง่มุมใหม่” อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, บรรณาธิการ, 2556

“ ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนไทย - ลาว” ใน การค้าชายแดนระหว่างไทยกับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, 2547

การค้าชายแดนไทย - ลาว (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2545

ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสายตาของคนลาว”. กรุงเทพ, สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

เอกสารสอนชุดวิชา การเมืองระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศอินโดจีน หน่วยที่ 5 สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)

“How Laos’ people response to Chinese community in Laos?. in China’s role in mainland ASEAN, Institute of Asia Studies, Chulalongkorn University, 2017

รายการ
ปี

ที่ปรึกษา, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในโครงการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนประเทศสปป.ลาว

2553 -2554

ที่ปรึกษา, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตในโครงการศึกษาผลกระทบทางสังคมของโครงการก่อสร้างเขื่อนน้ำเงี๊ยบ 2 แขวงบอลิคำไซ ประเทศสปป.ลาว, พ.ศ. 2553 3.ที่ปรึกษา, Japan Bank for International Cooperation โครงการศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 ในแขวงสะหวันนะเขต และการศึกษาผลจากการก่อสร้างสะพานลาว-ญี่ปุ่นข้ามแม่น้ำโขงในแขวงจำปาสัก ประเทศ สปป.ลาว

2548

ที่ปรึกษา โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว (R3), สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน,

2552 - 2553

ที่ปรึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ในการวางยุทธศาสตร์การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในส่วนของสปป.ลาว

2545

คณะทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาว

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459