นักวิจัยศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ  ความมั่นคง ประวัติศาสตร์  และสังคม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ‘ทุนซ่อนเร้น’ ที่มีอยู่ในสังคมไทยมารังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมาสื่อสารผ่านสื่อและนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านพหุวัฒนธรรมศึกษากับกลไกภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการประสานการทำงานร่วมกัน   ตลอดจนจะเป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่เพื่อให้เกิดผลผลิตอันทันสมัยที่จะส่งผลเฉพาะกลุ่มและในเชิงสาธารณะ และตอบโจทย์สำคัญของสังคมไทย

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัย

ความเชี่ยวชาญ

ภาพยนตร์ในมิติความบันเทิงและความมั่นคง การส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิง การส่งออกวัฒนธรรมไทย ระบบโลก

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7435

อีเมล

Thanayod.L@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์ยุโรปศึกษา ภาควิชายุโรปศึกษาและภาษาสมัยใหม่

มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบาธ สหราชอาณาจักร

วารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายการ
ปี

นวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรม 4.0 สนับสนุนโดยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ประสานงานโครงการ)

การสร้างภาพลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงกับก้าวย่างสู่ประเทศไทย 4.0: ศึกษากรณีซีรีส์โทรทัศน์เกาหลีใต้ สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (นักวิจัยหลัก)

ความสอดคล้องของโครงสร้างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (หัวหน้าโครงการ)

2560-2564

รายการ

ทางสายไหมใหม่ในอาเซียน : หนทางสู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืน?, เอเชียปริทัศน์ (2562) ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 หน้า 1-36

ความสอดคล้องของโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ไทยกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564), วารสารนิเทศศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์ (2562) ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 หน้า 43-79

Belt and Road Initiative at the Historic Turn of the 21st Century, Asia Review (2018), Vol. 31 No. 2 pp 6-25

ภาพยนตร์กับทฤษฎีแห่งความบันเทิง, วารสารนิเทศศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์ (2561) ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 หน้า 121-157

โอกาสและข้อจำกัดในการเผยแพร่ผลงาน: ภาพยนตร์ไทยกับภาพยนตร์เกาหลี, วารสารการสื่อสารมวลชน (2559) ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 หน้า 105-125

Bunchu Phu Narak and Resistance to Modernity, Rian Thai: International Journal of Thai Studies (2016), Vol. 9 pp. 203-227

Film or Flick? : Bundit Rittikol’s Youth Films as a Reflection of Resistance to Socio-Cultural Transition in Thailand, Manusya (2016), Vol. 19 No. 1 pp 83-106

รายการ
ปี

ภาพยนตร์ไทยในอินโดจีน นำเสนอในโครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติภาพยนตร์อาเซียน ครั้งที่ 2 ปี 2560 โดยคณะกรรมการบริหารแผนอาเซียนและคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2560

สรรค์สร้างเรื่องเล่าสู่สากล: ละคร ซีรี่ส์ ทีวีดราม่า (2562), กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2562

ที่ตั้งสถาบัน ( ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330