นักวิจัยศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ  ความมั่นคง ประวัติศาสตร์  และสังคม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ‘ทุนซ่อนเร้น’ ที่มีอยู่ในสังคมไทยมารังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมาสื่อสารผ่านสื่อและนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านพหุวัฒนธรรมศึกษากับกลไกภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการประสานการทำงานร่วมกัน   ตลอดจนจะเป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่เพื่อให้เกิดผลผลิตอันทันสมัยที่จะส่งผลเฉพาะกลุ่มและในเชิงสาธารณะ และตอบโจทย์สำคัญของสังคมไทย

อัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัย

ความเชี่ยวชาญ

การจัดการสิ่งแวดล้อม, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ชุมชนพหุวัฒนธรรม

หมายเลขโทรศัพท์

+66 5 516 5445

อีเมล

Sirinot935@gmail.com

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาควิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รายการ
ปี

โครงการพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามนโยบายสัญญาประชาคมความเห็นร่วม เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองของรัฐบาล สนับสนุนศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2560

โครงการสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2560

การประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคมของ ปตท. ปี 2560 (8 โครงการย่อย) โครงการพัฒนาพลังงานชุมชน “ระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร”, โครงการวิจัยระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำเพื่อบริหารจัดการน้ำ, โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โครงการเมืองน่าอยู่ 2020 (Livable City 2020), โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ฯ, โครงการ “หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน”, โครงการค่ายปิโตรแคมป์สู่แชมป์ปิโตร, โครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี

2560

โครงการแนวทางการขับเคลื่อนชุมชมชนสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ ภายใต้โครงการการเตรียมการชุมชนอัจฉริยะ เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2559

โครงการสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อการขจัดการครอบงำทางการเมือง การทุจริตคอร์รัปชัน การปฏิรูปสื่อและกระบวนการยุติธรรม เพื่อไม่ให้เป็นเงื่อนไขในการสร้างความขัดแย้งในสังคมไทย (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2559

โครงการสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเพื่อการสร้างสังคมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2559

โครงการศึกษาแนวทางการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในระดับชุมชน เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ผู้ช่วยนักวิจัย)

2559

โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นด้านการเมืองและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ (ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ประสานงาน)

2558

โครงการสำรวจทัศนคติและความต้องการของประชาชนต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ประสานงาน)

2558

รายการ

“พฤติกรรมการดูดวงของคนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารวิจัยสังคม . Vol. 40 No. 1 (2017): มกราคม - มิถุนายน 2560 หน้าที่ 201-225.

“ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อภูมิปัญญาการทำขนมผูกรัก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนพหุวัฒนธรรมบ้านเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล”, เอเชียปริทัศน์. มกราคม – มิถุนายน 2563. ปีที่ 41 (1) หน้าที่ -. (ผู้เขียนร่วม สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพรโรจน์)

ที่ตั้งสถาบัน ( ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330