นักวิจัยศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ  ความมั่นคง ประวัติศาสตร์  และสังคม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ‘ทุนซ่อนเร้น’ ที่มีอยู่ในสังคมไทยมารังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมาสื่อสารผ่านสื่อและนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านพหุวัฒนธรรมศึกษากับกลไกภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการประสานการทำงานร่วมกัน   ตลอดจนจะเป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่เพื่อให้เกิดผลผลิตอันทันสมัยที่จะส่งผลเฉพาะกลุ่มและในเชิงสาธารณะ และตอบโจทย์สำคัญของสังคมไทย

ศ. ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ความเชี่ยวชาญ

ประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า / พหุวัฒนธรรมในสังคมไทย

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7435

อีเมล

sunait.c@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

Ph.D. (History)

Cornell University USA

M.A. (History)

Cornell University USA

ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายการ
ปี

โครงการวิจัยประวัติศาสตร์บอกเล่า “บันทึกเรื่องราว ‘ในหลวงและพระราชินี’ ในความทรงจำของล่ามภาษามลายู”

โครงการวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากชุมชนสู่ชุมชน

โครงการวิจัยการศึกษาความสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านวรรณกรรมเยาวชน

โครงการจัดทำภาพยนตร์สารคดีสั้น เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย” (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า “รายอกีตอ : ราชันผู้ยิ่งใหญ่ในใจไทยมุสลิม”)

โครงการจัดแปลและพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย” ฉบับภาษาอาหรับ

รายการ
ปี

ผู้อำนวยการชุดโครงการองค์รวมความรู้เพื่อจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย”

ผู้อำนวยการชุดโครงวิจัย เรื่อง “การประกอบสร้างประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน” ปีที่ 1-ปีที่ 4

หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์บาดแผลสยาม-ปาตานี : กรณีศึกษาเอ็นร้อยหวาย

ผู้อำนวยการชุดโครงการ “รังสรรค์สันติสุขให้แผ่นดิน” ปีที่ 2

หัวหน้าโครงการ การสร้างภาพลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงกับก้าวย่างสู่ประเทศไทย ๔.๐ : ศึกษากรณีซีรีย์โทรทัศน์เกาหลีใต้

ผู้อำนวยการ โครงการวิจัยหนังสือเฉลิมพระเกียรติ “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย” (ฉบับปรับปรุงเนื้อหา)

ผู้อำนวยการ โครงการวิจัยเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ “ลับลี้ไม่ลี้ลับ: ปลายแผ่นดินด้ามขวานของไทย”

หัวหน้าโครงการ ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย 4.0” ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ ตามแนวนโยบาย 5F ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม อันได้แก่ 1. อาหาร (Food) 2. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3. ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) 4. มวยไทย (Fighting) และ 5. การอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลก (Festival)

หัวหน้าชุดโครงการ “ร้อยพลัง – รังสรรค์วิถี : ก้าวนี้และก้าวต่อไปบนด้ามขวาน” (2562-2563) (กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์)

หัวหน้าโครงการ ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย 4.0” ปีที่ 2

รายการ

ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (2552)

พม่าอ่านไทย (กรุงเทพฯ : มติชน, 2542)

พม่ารบไทย (กรุงเทพฯ : มติชน, 2537)

รายการ
ปี

หนังสือ “จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี” (2562) (ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2563 (รางวัลชมเชย) ประเภทหนังสือสารคดี กลุ่มหนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี)

2563

หนังสือ “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย” ฉบับปรับปรุงเนื้อหา

2562

หนังสือ “คาชูระโฮ สวรรค์บนปืนพิภพ ”

2562

Sunait Chutintaranond, “Cakravartin : Ideology, Peason and Manifestation of Siamese and Burmese Kings in Traditional Warfare (1538-1854) Cross Roads : An Interdisciplinary, Journal of Southeast Asian Studies (Special Burma Studies Issue) 4:1 (1988), pp. 45-56.

2531

Sunait Chutintaranond, “Mandala, Segmentary State and Polities of Centralization in Medieval Ayudhya” JSS 78:1 (1990), pp. 89-100.

2533

ที่ตั้งสถาบัน ( ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330