นักวิจัยศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ  ความมั่นคง ประวัติศาสตร์  และสังคม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ‘ทุนซ่อนเร้น’ ที่มีอยู่ในสังคมไทยมารังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมาสื่อสารผ่านสื่อและนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านพหุวัฒนธรรมศึกษากับกลไกภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการประสานการทำงานร่วมกัน   ตลอดจนจะเป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่เพื่อให้เกิดผลผลิตอันทันสมัยที่จะส่งผลเฉพาะกลุ่มและในเชิงสาธารณะ และตอบโจทย์สำคัญของสังคมไทย

ดร.สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัย

ความเชี่ยวชาญ

อาเซียนศึกษา ความมั่นคงศึกษา สังคมพหุวัฒนธรรมในเอเชีย

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7435

อีเมล

supaphan.t@gmail.com

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการ
ปี

อาเซียนกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่: พัฒนาการและความท้าทาย

2559

การบริหารจัดการชายแดนหลังการรวมตัวเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ : ศึกษากรณีกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์)

2561

รายการ

“ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อภูมิปัญญาการทำขนมผูกรัก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนพหุวัฒนธรรมบ้านเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล”, เอเชียปริทัศน์. มกราคม – มิถุนายน 2563. ปีที่ 41 (1) หน้าที่ -. (ผู้เขียนร่วม อัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี)

“การเมืองกับนโยบายการศึกษา: กรณีแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี พ.ศ. 2548 – 2551”, เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม - ธันวาคม 2561. ปีที่ 39 (2) หน้าที่ 135-163.

“ปัญหาของระบบการศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ”. เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม - ธันวาคม 2559. ปีที่ 37 (2) หน้าที่ 137-158.

“อาเซียนกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ : พัฒนาการและความท้าทาย”. เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม – ธันวาคม 2558. ปีที่ 36 (2) หน้าที่ 95-121.

รายการ
ปี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2562

ที่ตั้งสถาบัน ( ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330